มารู้จัก…ทนายรับรองเอกสาร (Notary Public) กัน
เคยไหมคะ เวลาที่คุณจะขอวีซ่าหรือทำธุรกรรมบางอย่างที่ต่างประเทศแล้วคุณต้องส่งเอกสารไป ทางสถานทูตรหรือทางหน่วยงานที่คุณต้องการทำธุรกรรมด้วยจะขอให้คุณนำเอกสารไปให้ทนายความหรือโนตารีพลับลิครับรองเอกสารเสียก่อน ซึ่งก็มีหลายคนสงสัยว่า Notarial Services Attorney คือใครและมีหน้าที่ทำอะไร ? และทำหน้าที่ต่างกับ Notary Public (โนตารี พลับลิค) หรือไม่ ? และจะหาบุคคลที่ทำหน้าที่ Notarial Services Attorney ในประเทศไทยได้ที่ไหน? วันนี้ จาร์เรทท์ ลอยด์ แนะนำ “ทนายความผู้รับรองเอกสารและลายมือชื่อ (Notarial service attorney)” ค่ะ
ในหลายๆประเทศ โนตารี่ พับลิค คือทนายความชนิดพิเศษอย่างหนึ่งที่มีใบอนุญาต ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับรองเอกสาร (Notarization) หรือเป็นพยานในคำให้การ หรือการให้ปากคำโดยการสาบาน งานของโนตารี่พับลิคเป็นประโยชน์มากเมื่อบุคคลที่ได้รับเอกสาร, คำให้การ, หรือให้ปากคำที่รับรองโดยโนตารี่พับบลิค บุคคลนั้นจะยอมรับเอกสารนั้นว่าเป็นของแท้ เพราะได้รับการรับรองจากคนกลางที่มีใบอนุญาตซึ่งรับประกันเอกสารนั้น เอกสารที่รับรองโดยโนตารี่พับลิคนี้ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลและหน่วยงานราชการ
นอกจากนั้น การทำนิติกรรมและธุรกรรมต่างๆ ของคนที่อยู่กันต่างประเทศกัน ซึ่งมีความจำเป็นต้องส่งเอกสารไปมาระหว่างกัน เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจนั้นๆรวมถึงความจำเป็นที่ต้องมีการแปลเอกสารจาก ภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจและบังคับใช้ได้ในอีกประเทศหนึ่งนั้น จำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้ดีและมีผู้ยอมรับนับถือในความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ในการมาเป็นผู้รับรองความมีอยู่จริงของเอกสาร ความถูกต้องไม่ขัดต่อกฎหมายของเอกสาร รวมถึงความแท้จริงของเจตนาของผู้ที่ลงนามในเอกสารเมื่อผู้รับรองได้รับรอง แล้ว และได้ส่งไปใช้ในอีกประเทศหนึ่ง ผู้รับก็จะเกิดความมั่นใจ แม้ว่าเอกสารนั้นตนอาจจะไม่ได้มีส่วนทำขึ้น และไม่ได้ลงนามต่อหน้าตนเองก็ตาม นั่นคือ หน้าที่ของ ดนตารี พลับลิค (Notary Public) นั่นเอง
ในต่างประเทศหลายๆประเทศมักจะมีกฎหมายเฉพาะว่าด้วยโนตารี พลับลิค ซึ่งกำหนดอำนาจหน้าที่ ลักษณะของงานที่จะต้องทำโดยโนตารี พลับลค ค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บ รวมถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นโนตารี พลับลิค ข้อบังคับ จรรยาบรรณ และบทลงโทษกรณีทุจริตหรือปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง
ในประเทศไทย สภาทนายความได้มีการประกาศข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการขึ้น ทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ.๒๕๕๑ โดยทนายผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารในประเทศไทยเรียกว่า “Notarial Services Attorney” ซึ่ง ทนายความที่ได้รับใบอนุญาตผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารจากสภาทนายความ จะทำหน้าที่รับรองลายมือชื่อที่มีการลงชื่อต่อหน้าในเอกสารนั้นๆ หรือรับรองสำเนาเอกสารเช่นว่านั้นว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงจากต้นฉบับ หรือทำคำรับรองประเภทอื่นๆ รวมทั้งการลงชื่อในฐานะเป็นพยานในเอกสารเช่นว่านั้นด้วย
ทั้งนี้ โดยส่วนมากแล้วจะนำเอกสารเหล่านั้นไปใช้ในต่างประเทศหรือใช้ที่สถานทูตต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เป็นต้น
ดังนั้น การทำหน้าที่ของ Notarial Services Attorney จึงไม่แตกต่างไปจากการทำหน้าที่ของ Notary Public ในต่างประเทศ แต่อย่างใดค่ะ
สำหรับทนายความทั่วๆไปที่ไม่มีใบอนุญาตในการทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร จึงไม่เรียกว่าเป็น Notarial Services Attorney
ขอบเขตการทำงานของ Notarial Services Attorney
- รับรองคำแปลเอกสาร/Certified True Translation
- รับรองลายมือชื่อในเอกสาร/Certified True Signature/Applicant Declaration Notary Public
- รับรองสำเนาเอกสาร/Certified True Copy
- รับรองนิติกรรมที่เอกชนทำขึ้น
- รับรองตัวบุคคล
- รับรองข้อเท็จจริง
- จัดทำคำสาบาน
- รับรองความมีอยู่ของเอกสาร
- ทำคำคัดค้านตราสาร
- จัดทำบันทึกคำให้การ/Affidavit Notary Public
- ทำหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
ตัวอย่างการรับรองเอกสารของ Notarial Service Attorney
ตัวอย่างที่ 1
นาย ก คนออสเตรเลียมีความต้องการที่จะขายบ้าน แต่ตนเองอยู่ในประเทศไทย โดยต้องการที่จะมอบอำนาจให้ทนายความของตนที่ประเทศออสเตรเยียจัดการให้และลงนามในหนังสือมอบอำนาจ เช่นนี้นาย ก ต้องนำหนังสือมอบอำนาจ มาลงนามต่อหน้า Notarial Service Attorney เพื่อให้ทนายความรับรองเอกสาร ทำหน้าที่ออกเอกสารยืนยันว่า นายก เดือนทางมาลงนามต่อหน้าและลายมือชื่อที่ลงในหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นลายมือชื่อของนาย ก จริง
ตัวอย่างที่ 2
บริษัทเอ ต้องการจดเครื่องหมายการค้าที่ประเทศจีนและฮ่องกง จึงต้องลงนามในหนังสือมอบอำนาจส่งให้เจ้าหน้าที่ (Agent) ที่ปรเทศดูไบทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว บริษัท เอ โดยกรรมการผู้มีอำนาจจึงต้องลงนามและประทับตราลงบนหนังสือมอบอำนาจต่อหน้าทนายความรับรองเอกสาร เพื่อนำหนังสือมอบอำนาจไปใช้ที่ประเทศจีนและฮ่องกง
ตัวอย่างที่ 3
นาง ข (คนไทย) จดทะเบียนสมรสกับ นายแอนดรู (คนอังกฤษ) ต้องการนำสัญญาก่อนสมรสและทะเบียนสมรสไปใช้รับรองการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายของประเทศอังกฤษด้วย จึงนำสัญญาก่อนสมรสและสำเนาทะเบียนสมรส มาให้ทนายความรับรองเอกสารเพื่อรับรองว่าสัญญาก่อนสมรสนั้นทำขึ้นที่ประเทศไทยจริง รวมถึงทะเบียนสมรสเป็นเอกสารที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของไทยจริง เสียก่อน จึงสามารถนำไปใช้ที่ประเทศอังกฤษได้