1.ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
แน่นอนว่า ผู้ประกอบการย่อมอยากให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การเลือกใช้ระบบที่ดีและเชื่อมต่อกันทั้งระบบ เป็นการให้การสนับสนุนการทำงานของพนักงานที่สำคัญและเป็นหัวใจหลักของการทำงาน
หากพนักงานไม่สามารถทำงานได้อย่างประสิทธิภาพเพราะระบบซอฟต์แวร์ที่พวกเขาใช้ล้าสมัย ข้อผิดพลาดในสถานที่ทำงานจะเพิ่มขึ้น เสียเวลาและไม่เกิดประสิทธิผล คุณลองคิดภาพการที่พนักงานของคุณจะต้องรอเอาข้อมูลจากร้านอาหารมาคีย์ในระบบบัญชี เพื่อออกใบกำกับภาษีฉบับเต็มให้กับลูกค้า การทำแบบนี้นอกจากจะล่าช้าและเกิดความผิดพลาดได้ง่าย เมื่อเทียบกับการเลือกใช้ระบบที่สามารถส่งข้อมูลระหว่างกันได้อัตโนมัติที่จะสามารถเช็คข้อมูลได้อย่างเรียลไทม์ ออกใบกำกับฯได้ในภายในไม่กี่คลิก
2.ขาดการมองเห็นแบบเรียลไทม์
การเลือกใช้ซอฟต์แวร์แบบกระจัดกระจายที่ประกอบด้วยหลายฐานข้อมูล การได้มาของข้อมูลที่ครบถ้วนจากทุกแผนกจะใช้เวลานานมาก ซึ่งหลายองต์กรไม่สามารถได้ข้อมูลที่ใช้งานต่อได้เลย ไม่ว่าจะเป็น รายงานและสถิติเกี่ยวกับการเงิน การขาย และการตลาด ซึ่งรายงานเหล่านี้มีความสำคัญต่อการพิจารณาสถานภาพของธุรกิจ ผู้บริหารต้องการใช้ข้อมูลสำคัญนี้เพื่อการวิเคราะห์ การเลือกใช้ Fragmented Software อาจส่งผลเสียต่อการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว
3.ความซับซ้อนและต้นทุนสูงในการบูรณาการระบบ
มีหลายองค์กร ไม่ต้องการปรับขั้นตอนการทำงานของพนักงาน จึงเลือกที่จะจ้างโปรแกรมเมอร์มาเขียนโปรแกรมเพื่อเชื่อมต่อระบบเดิม ที่เป็น Fragemented Software เชื่อมต่อเพื่อให้ทุกแผนกสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น หรือที่เรียกว่า Interface ซึ่งหากศึกษาให้ดี ในระยะยาว การเลือกใช้อินเทอร์เฟซเหล่านี้ (Interface) มักมีค่าใช้จ่ายและมาพร้อมกับค่าบำรุงรักษาที่สูง อินเทอร์เฟซก็มีแนวโน้มที่จะเกิดข้อผิดพลาด มีข้อจำกัด ทำให้ไม่สามารถเติบโตได้ในอนาคต
4.ผลกระทบต่อการเติบโตของลูกค้า
เป้าหมายของการทำธุรกิจ คือ การรักษาฐานลูกค้าเดิม เพิ่มฐานลูกค้าใหม่ ส่งผลกระทบต่อยอดรายได้ขององค์กร ซึ่ง CDP หรือ Customer Data Platform มีความสำคัญในการช่วยให้คุณวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการทำการตลาดให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และต่อยอดไปยัง CRM ซึ่งระบบ CDP และ CRM ที่ดีควรจะเป็นระบบเดียวกันกับระบบที่คุณใช้ในการให้บริการลูกค้า