Sentosa Golf Club’s (SGC) Serapong คว้ารางวัลสนามกอล์ฟที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2023

CiMSO Southeast Asia ขอแสดงความยินดีกับ Sentosa Golf Club’s (SGC) Serapong ที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ 3 รางวัลในงาน World Golf Awards ประจำปี 2566

– สนามกอล์ฟที่ดีที่สุดในโลก (World’s Best Golf Course )

– สนามกอล์ฟที่ดีที่สุดในเอเชีย (Asia’s Best Golf Course) 

– สนามกอล์ฟที่ดีที่สุดของสิงคโปร์ (Singapore’s Best Golf Course) 

สโมสรได้รับการจัดอันดับที่ 74 ใน ‘สโมสรระดับแพลตตินัมของโลก – สนามกอล์ฟและคันทรี่คลับชั้นนำ 150 แห่งประจำปี 2024-25’ ล่าสุด

CiMSO Southeast Asia มีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งในการมีส่วนร่วมในความสำเร็จของ  Sentosa Golf Clubผ่าน   การจัดการและบริการที่มีประสิทธิภาพซึ่งจัดทำโดยซอฟต์แวร์ CiMSO: GOLFmanager, CLUBmanager, RESTaurateur, STOCKmanager  และ  การควบคุมทางการเงินเต็มรูปแบบ

แอนดรูว์ จอห์นสตัน (Andy Johnston) SGC’s general manager and director of agronomy  

อธิบายว่านี่เป็น “เรื่องใหญ่จริงๆ” โดยสังเกตว่ามีสนามกอล์ฟมากกว่า 39,000 แห่งทั่วโลก และการได้ครองตำแหน่งสนามกอล์ฟที่ดีที่สุดนั้น “พิเศษมาก”

“นี่เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ไม่เพียงแค่สำหรับสโมสรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิงคโปร์ และสนามที่ดีที่สุดในเอเชียด้วย เราได้แสดงให้เห็นว่าเราสามารถยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับสิ่งที่ดีที่สุดในโลกได้”

สนามกอล์ฟ Sentosa Serapong ได้รับการยอมรับมายาวนานว่าเป็นหนึ่งในสนามกอล์ฟ ที่เป็น the premier Championship courses in Asia ในรูปแบบที่ท้าทายและทิวทัศน์อันน่าทึ่งทำให้กลายเป็นที่โปรดปรานในหมู่ผู้ชื่นชอบกีฬากอล์ฟ และยิ่งเพิ่มความโดดเด่นที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ประวัติศาสตร์อันโด่งดังของสนามนี้ถูกกำหนดโดยบทบาทในการจัดงานอันทรงเกียรติและการดึงดูดนักกอล์ฟชั้นนำจากทั่วโลก โอกาสเหล่านี้ไม่เพียงแต่เน้นย้ำถึงความยิ่งใหญ่ของสนามเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการจัดการทัวร์นาเมนต์ที่มีเดิมพันสูงด้วยความสง่างามและแม่นยำอีกด้วย

หากคุณต้องการระบบที่ปรึกษาและระบบ ERP สำหรับธุรกิจการบริการ (ซอฟต์แวร์กอล์ฟ ซอฟต์แวร์การจัดการโรงแรม ซอฟต์แวร์การจัดการรีสอร์ท ซอฟต์แวร์การจัดการกิจกรรม ร้านอาหาร ซอฟต์แวร์การจัดการอาหารและเครื่องดื่มและครัวกลาง ซอฟต์แวร์สปา การจัดการร้านค้าปลีกขายส่ง การจัดการแฟรนไชส์ ​​และอื่นๆ ธุรกิจบริการ)

สามารถติดต่อ CiMSO ERP Software   เพื่อสาธิตการใช้งานสั้นๆ (ฟรี ผ่านระบบออนไลน์) ได้ที่ 02-1296312 หรือ  Marketingth@cimso.com

If you require a consultant system and an ERP system for hospitality businesses (golf software, hotel management software, resort management software, event management software, restaurant, F&B and Central Kitchen Management Software, spa software, wholesale retail management, franchise management, and other service businesses)

Feel free to contact CiMSO ERP Software  for a short demo (free, via online) at 02-1296312 or marketingth@cimso.com

5.2-Ci-Header-GOLFmanager-c

To contact CiMSO Sales Team by phone, please call +66-21296312 or email at marketingth@cimso.com

LUSA คืออะไรและทำไมต้องจ่ายทุกปี

การทำธุรกิจในปัจจุบันใช้ซอฟต์แวร์เพื่อจัดการกระบวนการทางธุรกิจ สื่อสารกับพนักงาน ลูกค้า ผู้ขาย และเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ มากมาย ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีการเปิดใช้งานใบอนุญาตหรือยอมรับ ” ข้อกำหนดและเงื่อนไข ” ก่อนที่จะสามารถดาวน์โหลด ติดตั้ง หรือเข้าถึงโปรแกรมได้ ซึ่งลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มีหลายประเภท มีเงื่อนไข ข้อตกลงการสนับสนุน ข้อจำกัด และค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ผู้ใช้จำเป็นต้องเข้าใจพื้นฐานของสิทธิ์การใช้งานซอฟต์แวร์ เพื่อให้แน่ใจว่ามีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในความรับผิดชอบและการปฏิบัติตามข้อกำหนดและข้อจำกัดทางกฎหมาย

หนึ่งในคำถามที่น่าสนใจที่ลูกค้าเราถาม คือ อะไรคือค่าLUSA แล้วทำไมซื้อ CiMSO Software แล้วต้องจ่ายค่า LUSA ทุกปี?

ต้นทุนค่าซอฟต์แวร์ (Software Costs) 

ต้นทุนค่าซอฟต์แวร์ ของ คิมโซ ซอฟต์วร์ (CiMSO Software) และซอฟต์แวร์อื่นๆส่วนมาก แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 

  1. สิทธิ์การใช้งานซอฟต์แวร์(Software License)  
  2. การติดตั้ง ตั้งค่า และการอบรมการใช้งานระบบ (Implementation) 
  3. การอัปเกรด บำรุงรักษาซอฟต์แวร์  และการให้บริการหลังการขาย (License Upgrade and Support)

ส่วนที่ 1 สิทธิ์การใช้งานซอฟต์แวร์(Software License) ค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของคุณจะขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้ วิธีการปรับใช้ และคุณสมบัติพิเศษหรือส่วนเสริมที่คุณต้องการใช้งาน

ส่วนที่ 2 การติดตั้ง ตั้งค่า และการอบรมการใช้งานระบบ (Implementation) การบริการการติดตั้งใช้งานระบบ จะเป็นการการตั้งค่าระบบสำหรับผู้ใช้ตามขั้นตอนและความต้องการของแต่ละธุรกิจ ตลอดจนแก้ไขจุดบกพร่องหรือปัญหาทางเทคนิค นอกเหนือจากการช่วยโยกย้ายข้อมูลที่เกี่ยวข้องไปยังซอฟต์แวร์ใหม่  โดยปกติจะเป็นกระบวนการและค่าใช้จ่ายที่ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว  

โดยทั่วไปการชำระเงินในส่วนของ Software License และ Implementaion คิมโซ (CiMSO) จะเสนอให้ชำระล่วงหน้าเป็นงวดงานก่อนการ Golive โดยอาจเลือกเป็น 2 งวดหรือ 3 งวด แล้วแต่ความเร่งรีบของโครงการ

ส่วนที่3 การอัปเกรด บำรุงรักษาซอฟต์แวร์  และการให้บริการหลังการขาย (License Upgrade and Support) การอัปเกรด บำรุงรักษาซอฟต์แวร์  และการให้บริการหลังการขาย หรือที่เราเรียกว่า ลูซ่า LUSA คือ การทำให้ลิขสิทธิ์ในซอฟต์แวร์ของลูกค้าเป็นเป็นเวอร์ชั่นที่ทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งการอัปเกรดในที่นี่ รวมถึง การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหรือการปรับปรุงที่สำคัญจากเวอร์ชั่นปัจจุบัน (new versions) นอกเหนือจากการการแก้บั๊กหรือแก้ปัญหาในซอฟต์แวร์ (Software Debugging) ซึ่ง CiMSO Software จะทำการอัปเกรดเวอร์ชั่นใหม่ ทุกๆ 6 เดือน (Release New Version) 

ค่าลูซ่า (LUSA fee) จะถูกจัดเก็บล่วงหน้าเป็นรายปี ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกชำระครั้งเดียวหรือแบ่งชำระเป็นราย 3 เดือนหรือรายเดือน ซึ่งการเลือกชำระเป็นรายเดือนจะมีมูลค่าสูงกว่าชำระครั้งเดียวเล็กน้อย โดย ค่าLUSA จะถูกคำนวณอยู่ที่15 -20 เปอร์เซ็นต์ของของต้นทุนค่าซอฟต์แวร์ต่อปี และ ค่าLUSA อาจเปลี่ยนแปลงตาม CPI ของประเทศที่โฮสต์เซิร์ฟเวอร์ และ/หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เช่น การเพิ่ม/ลดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เป็นต้น

ทำไม CiMSO จึงมี ค่าลูซ่า (LUSA fee) หรือ ค่าบริการอัปเกรด บำรุงรักษาซอฟต์แวร์  และการให้บริการหลังการขาย (License Upgrade and Support) รายปีและผู้ใช้ทุกรายจะต้องชำระ? 

การให้บริการในส่วนที่ 3 หรือ การอัปเกรด บำรุงรักษาซอฟต์แวร์  และการให้บริการหลังการขาย (License Upgrade and Support) หรือ ค่าลูซ่า (LUSA fee) ที่ผู้ใช้หรือลูกค้าของคิมโซ จะต้องจ่ายทุกปีเป็นรายปีนั้นรวมถึง…

  • ค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่เพิ่มขึ้นใหม่ (License Upgrade), และ
  • ค่าบริการสำหรับการบำรุงรักษาระบบ หรือ ค่าMA (Software Maintenance), และ  
  • ค่าบริการหลังการขาย (Support Service หรือ Help Desk service) เช่น การให้คำแนะนำการใช้ระบบตามความต้องการในการใช้งานของลูกค้า เช่น เมื่อลูกค้าเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานภายในองค์กรและต้องการคำแนะนำใหนการตั้งค่าระบบ ลูกค้าสามารถสอบถามทีมงานของคิมโซได้เสมอภายใต้ระดับความเร่งด่วนของการให้บริการ เป็นต้น   

CiMSO Software กำหนดให้ผู้ใช้ทุกรายจะต้องชำระค่าLUSA หากลูกค้าไม่ชำระค่า LUSA ภายในกำหนดชำระ ลูกค้าจะไม่สามารถเข้าใช้ระบบได้ เพราะการชำระค่าLUSA นอกจากจะเป็นการชำระเพื่อใช้บริการต่างๆข้างต้นแล้ว ยังเป็นการลงทุนในผลิตภัณฑ์หรือโซลูชันใหม่เพื่อเพิ่มไปยังซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่ และเป็นการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่อไป ซึ่งหมายความว่าเมื่อซอฟต์แวร์มีเวอร์ชั่นใหม่ออกมา ผู้ใช้จะสามารถอัปเกรดซอฟต์แวร์ได้ฟรี

ข้อดีของการมี LUSA นอกจากการให้บริการซัพพอร์ตของคิมโซ ซึ่งเป็นการให้บริการผู้ใช้ตลอด 24/7 ภายใต้ระดับความเร่งด่วนของงาน (โปรดสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากทีมงานคิมโซ) คือ 

1. ช่วยลดต้นทุนและปรับปรุง ROI ขององค์กร 

ความล่าช้าในการอัปเกรดซอฟต์แวร์ อาจทำให้คุณเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า การเลือกใช้โปรแกรมการอัปเกรดที่วางแผนอย่างดีและทันทีได้ การลงทุนในซอฟต์แวร์ของคุณไม่เพียงแค่รวมถึงความสามารถทางเทคนิคที่มีในขณะที่คุณซื้อผลิตภัณฑ์ แต่ยังรวมถึงการวิจัยและพัฒนาทั้งหมดที่ตามมา การอัปเกรดระบบคิมโซทันทีสามารถเพิ่ม ROI ของคุณทั้งทางปริมาณและคุณภาพ ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เวอร์ชันเก่าที่ใช้งานอาจกลายเป็นภาระค่าใช้จ่ายสำหรับแผนก IT เนื่องจากบุคลากรต้องพยายามทำความเข้าใจกับฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชัน เวอร์ชันที่เก่ากว่าอาจต้องการความสนใจมากขึ้นและใช้เวลาในการสนับสนุนมากขึ้น ทำให้เกิดการทำงานเพิ่มขึ้น

2. ปกป้องกันองค์กรของคุณและรักษาการดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง

การอัปเกรดซอฟต์แวร์คิมโซช่วยให้คุณมั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจจะถูกรักษาไว้และไม่มีความผิดพลาดที่ไม่จำเป็น เวอร์ชันที่เก่าอาจขาดการอัปเดตความปลอดภัยที่สำคัญ, คุณลักษณะใหม่, และการintregrateกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์สำหรับการแข่งขันทางธุรกิจ การที่ยังคงใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับการอัปเกรดอาจเป็นความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยสำหรับองค์กรใดๆ การอยู่ในเวอร์ชันซอฟต์แวร์ล่าสุดช่วยปกป้องข้อมูลของคุณและหลีกเลี่ยงปัญหา เวอร์ชันปัจจุบันสามารถช่วยปกป้องระบบและแอปพลิเคชันของคุณจากไวรัส, สปายแวร์ และ/หรือซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายอื่น ๆ ที่สามารถทำให้เกิดความเสียหายหรือขโมยข้อมูล หรือทำให้การแก้ไขปัญหาเสียเวลานาน.

3. ให้มุ่งเน้นที่เทคโนโลยีใหม่

การที่คุณมั่นใจว่าคุณกำลังเรียกใช้เวอร์ชั่นปัจจุบันของคิมโซอยู่เสมอ คุณสามารถมุ่งเน้นการนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้ระบบเดิมที่ใช้ทำงานได้คล่องตัวและสะดวกมากขึ้น ซึ่งทำให้คุณสามารถใช้เวลากับการทำการตลาดเพิ่มยอดขายอย่างมีความมั่นใจว่าระบบจะรองรับการเติบโตขององค์กรอยู่เสมอ ประโยชน์สะสมจากการอัปเกรดซอฟต์แวร์เป็นระยะ คือคุณจะไม่พลาดจากจุดที่สำคัญทั้งหมดเหล่านั้น ฟังก์ชันใหม่และการแก้ไขที่อาจเป็นข้อได้เปรียบทางธุรกิจ

4. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของซอฟต์แวร์คิมโซ  

ผู้ใช้ระบบคิมโซ สามารถนำต้นทุนและค่าLUSA รายปีไปหักคำนวณหักค่าเสื่อมราคาได้ ซึ่งระบบคิมโซเป็นระบบที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นตลอดอายุการใช้งาน เพราะเป็ฯทรัพย์สิทประเภทไม่จำกัดอายุการใช้งาน และการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มี ค่าLUSA รายปี เป็นการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา กรณีไม่จำกัดอายุการใช้งาน ซึ่งสรรพากรอนุญาตให้หักค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตามมาตรา 4(4) แห่งพระราช กฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527

หากคุณต้องการระบบที่ปรึกษาและระบบ ERP สำหรับธุรกิจการบริการ (ซอฟต์แวร์กอล์ฟ ซอฟต์แวร์การจัดการโรงแรม ซอฟต์แวร์การจัดการรีสอร์ท ซอฟต์แวร์การจัดการกิจกรรม ร้านอาหาร ซอฟต์แวร์การจัดการอาหารและเครื่องดื่มและครัวกลาง ซอฟต์แวร์สปา การจัดการร้านค้าปลีกขายส่ง การจัดการแฟรนไชส์ ​​และอื่นๆ ธุรกิจบริการ)

สามารถติดต่อ CiMSO ERP Software   เพื่อสาธิตการใช้งานสั้นๆ (ฟรี ผ่านระบบออนไลน์) ได้ที่ 02-1296312 หรือ  Marketingth@cimso.com

If you require a consultant system and an ERP system for hospitality businesses (golf software, hotel management software, resort management software, event management software, restaurant, F&B and Central Kitchen Management Software, spa software, wholesale retail management, franchise management, and other service businesses)

Feel free to contact CiMSO ERP Software  for a short demo (free, via online) at 02-1296312 or marketingth@cimso.com

5.2-Ci-Header-GOLFmanager-c

To contact CiMSO Sales Team by phone, please call +66-21296312 or email at marketingth@cimso.com

ขายงานอีเวนท์แบบโปรๆ ด้วยระบบจัดการงานอีเว้นท์

การขายพื้นที่ ห้องจัดเลี้ยง เป็นอีกหนึ่งรายได้สำคัญสำหรับธุรกิจโรงแรม ที่พัก และสถานที่จัดงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานเล็กหรืองานใหญ่ เช่น งานอบรมสัมมนา งานแต่งงาน งานเปิดตัวสินค้า งานกิจกรรมองค์กร ละลายพฤติกรรม ย่อมต้องใช้สถานที่ที่เหมาะสม บริการที่สะดวก รวดเร็ว และช่วยให้ลูกค้ารู้สึกถึงความสะดวกสบายในการใช้บริการ โดยเฉพาะการลดความยุ่งยากในการจองสถานที่ 

ซึ่งผู้จัดงานย่อมอยากให้ทีมงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มยอดจองสถานที่จัดและจัดใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอย่างคุ้มค่าที่สุด  ไม่ว่าจะเป็นการจองสถานที่ การสั่งซื้อและการตัดใช้วัตถุดิบ นอกจากนั้นผู้จัดงานที่ดี ย่อมต้องนึกถึงผลประโยชน์ของลูกค้าสูงสุด จึงต้องวางแผนจัดงานให้อยู่ในงบประมาณของลูกค้า ซึ่งระบบจัดงานเลี้ยง ระบบจัดอีเว้นท์ ที่ดีจะช่วยคุ้มค่าใช้จ่ายให้กับงานของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

ระบบจัดการงานอีเว้นท์ (Event Management System) เป็นระบบที่นักจัดงานอีเว้นท์ โรงแรมที่มีห้องจัดเลี้ยง ซึ่งมีสถานที่หรือห้องจัดเลี้ยงหลายห้อง หลายสถานที่ จำเป็นต้องมี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารงานจัดเลี้ยง งานอีเวนท์ งานสัมมนา ทำให้การขายงานอีเวนท์ของคุณมีความเป็นมืออาชีพ  ลดความผิดพลาด และเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรได้อีกด้วย

ลองคิดภาพ โรงแรมที่มี 3 สาขา มีห้องจัดเลี้ยงสาขาละ 5 ห้อง รวมแล้ว คุณมีสถานที่จัดเลี้ยง 15 ที่ หากคุณต้องการสร้างรายได้จากส่วนการจัดเลี้ยง แน่นอนคุณย่อมอยากให้ห้องจัดเลี้ยงได้ถูกจองอย่างน้อย 360 วันต่อปี (เหลือ 5 วัน ไว้ทำความสะอาดครั้งใหญ่ ซ่อมแซม)  ซึ่งการจัดงานแบ่งเป็น ราคาช่วงเช้า และช่วงเย็น) แบบนี้หากคุณมีพนักงานขาย 3 คน แต่พนักงานขายของคุณไม่มีตารางการจองที่สามารถเข้าถึงได้พร้อมกันและนำเสนอลูกค้าและทำการจองได้ทันที หรือทำการจองไปแล้วแต่เกิดการ overbooked คุณจะเสียทั้งลูกค้าปัจจุบันและอาจทั้งลูกค้าในอนาคต เพราะลูกค้าอาจเสียความรู้สึกและเล่าถึงเหตุการณ์นี้ในสื่อโซเชียล ได้  

ระบบจัดการงานอีเว้นท์ จะช่วยลดความผิดพลาดในการจอง ยังสามารถเพิ่มรายได้ให้กับผู้จัดงาน เช่น เมื่อคุณรู้ว่าลูกค้าจองสถานที่ หรือจองห้องจัดเลี้ยงในช่วงวันใดไปเยอะแล้ว แต่ยังคงเหลือห้องจัดเลี้ยงอยู่ คุณสามารถเอาข้อมูลที่เห็นไปทำโปรโมชั่นหรือแคมเปญที่ตอบโจทย์ลูกค้า ทำให้เกิดการจองในช่วงที่ว่าง ทำให้ห้องจัดเลี้ยงของคุณจองครบตามเป้าหมายได้

นอกจากนั้น ระบบการจัดงานอีเว้นท์ ยังช่วยในการบริหารจัดการงานและคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ เพราะระบบจะช่วย…

  • ลดความผิดผลาดในการจองห้องจัดเลี้ยง ห้องจัดงาน 
  • สร้างแพคเกจสำหรับนำเสนอลูกค้าได้ทันที 
  • เก็บข้อมูลและความต้องการของลูกค้า เข้าระบบ Customer Data Platform ทำให้ผู้จัดงานสามารถนำเสนอหรือตอบสนองความต้องการของฐานลูกค้าได้ โดยเฉพาะลูกค้าองค์กร  
  • รวบรวมฐานข้อมูลของลูกค้าและเอกสารที่เกี่ยวข้องของงานไว้ที่ฐานข้อมูลกลาง ซึ่งทีมงาน(ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงฐานข้อมูล) จะสามารถทำงานร่วมกัน ส่งต่องานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • จัดการสต๊อกสินค้า ระบบจัดการงานอีเวนท์ที่ดีจะเชื่อมต่อไปยังระบบร้านอาหาร touchscreen POS และระบบสต๊อกสินค้า เพื่อการใช้วัตถุดิบที่คุ้มค่าและลูกค้าได้ประโยชน์สูงสุด
  • จัดการการใช้และตัดใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดงาน 

           เป็นต้น

EVENTmanager ของ CiMSO เป็นอย่างไร? 

ซอฟต์แวร์ หรือระบบ CiMSO EVENTmanager (Event & Conference Software) เป็นระบบการจัดงานอีเว้นท์ แบบครบวงจรที่ใช้งานง่าย เพื่อการจัดการงาน Event และ Conference ระบบจะช่วยคุณตั้งแต่การวางแผนงาน สถานที่จัดงาน แผนผังภายในตัวงาน ควบคุมงบประมาณ การจัดการฐานข้อมูลแขก การเงิน-บัญชี การติดต่อประสานงานกับแขก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทีมและประหยัดค่าใช้จ่ายและช่วยเพิ่ม ROI ให้กับ Event ของคุณ

คุณสมบัติทั่วไปของ ระบบการจัดการงานอีเว้นท์ ของ CiMSO  (CiMSO EVENTmanager) 

  • ระบบจองห้องหรือสถานที่จัดงาน
  • โปรไฟล์งานอีเว้นท์ พร้อมรายชื่อแขก พนักงาน ทรัพยากร และการจัดการงาน 
  • ตารางการจองกิจกรรมพร้อมสถานะรหัสสี
  • การจัดราคาค่าสถานที่และการจัดแพ็คเกจงานรวมเข้ากับระบบใบเสนอราคา
  • รูปแบบ Function sheet ที่ผู้ใช้กำหนดได้ไม่จำกัด
  • การสื่อสารและการติดตามเอกสาร
  • ระบบขาย ณ จุดขายหน้าจอสัมผัส (RESTaurateur POS) 
  • การออกใบเสนอราคาและใบแจ้งหนี้ที่รวดเร็ว พร้อมการส่งอีเมล์ตรงไปยังลูกค้าจากระบบ 

รายละเอียดฟังก์ชั่นต่างของระบบการจัดการงานอีเว้นท์ EVENTmanager 

1.สร้าง Proposal งาน Event (Event Quotes)

  • ตารางการจองสถานที่และห้องจัดงาน ที่ใช้รหัสสีเพื่อการเลือกสถานที่ที่รวดเร็วและการจองชั่วคราว (provisional bookings) 
  • สร้างโปรไฟล์งานเลี้ยง งานอีเว้นท์ พร้อมรายชื่อแขก พนักงาน ทรัพยากร และการจัดการงาน
  • กำหนดราคาห้องจัดเลี้ยงโดยใช้แพ็คเกจและทรัพยากรการจัดเลี้ยง 
  • พิมพ์ใบเสนอราคาในรูปแบบที่ผู้ใช้กำหนดได้ พร้อมการส่งอีเมล์ จดหมายและแฟกซ์โดยตรง

2. Function Sheet หรือ BEO (Banquet Event Order)

  • แผ่นฟังก์ชันที่ผู้ใช้สามารถกำหนดค่าได้โดยใช้ชุดโปรแกรม LibreOffice ในตัว (DOCmanager)
  • ช่องผสานที่กว้างขวางจากโปรไฟล์ลูกค้าและกระบวนการจัดการอื่นๆ ใน CDP
  • การส่งFunction Sheet หรือ BEO ทางอีเมล์ พร้อมกับการเก็บข้อมูล การเรียกข้อมูล การ นำกลับมาใช้ซ้ำ (Duplicate) อีกครั้งอย่างรวดเร็ว

3.การจัดการงานอีเว้นท์ (Event Management) 

  • จัดการงานอีเวนท์และจัดการงานต่างๆของทีมพนักงานโดยใช้ตัวจัดการงานและกิจกรรม(the integrated Task and Activity Manager) 
  • สร้างรายชื่อแขก ป้ายชื่อ และการจัดสรรที่นั่งได้โดยตรงจากโปรไฟล์งาน (the event profile)
  • การประมวลผลธุรกรรมที่รวดเร็วจากอุปกรณ์จุดขายหน้าจอสัมผัส (touch screen points of sale devices)

4.การจัดการทางบัญชี

  • ระบบลูกหนี้ (AR) ที่เชื่อมกับระบบขายไม่ว่าจะขายเชื่อหรือขายสดจากเครื่อง PoS พร้อมการควบคุมวงเงินสินเชื่อ ใบกำกับภาษี (tax Invoice) และใบแจ้งหนี้ (statement) 
  • ระบบเชื่อมต่อกับรายชื่อแขกในโรงแรมที่พัก (INNkeeper) สำหรับการเรียกเก็บเงินโดยตรงไปยังโฟลิโอของแขก
  • ประมวลผลการชำระเงินหลายประเภท การแลกคะแนนสะสม และสกุลเงินฟอเร็กซ์
  • การควบคุมเงินสดด้วยการควบคุมและการกระทบยอดเงินสดที่รวดเร็ว หลายระดับ หลายสกุลเงิน
  • สิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบรายได้ที่ครอบคลุมพร้อมบันทึกการเปลี่ยนแปลงโดยละเอียดของกิจกรรมผู้ใช้ที่ระบุ

5.การควบคุมสินค้าคงคลัง (สต๊อก)

  • ควบคุมผลิตภัณฑ์ (สต็อค) บริการ ค่าธรรมเนียม สูตร และรายการวัสดุ (BOM)
  • จัดการการคิดต้นทุนอาหารที่แม่นยำโดยใช้แพ็คเกจและสูตรอาหารการจัดเลี้ยงที่ลิ้งกันทั้งระบบ 

หากคุณต้องการระบบที่ปรึกษาและระบบ ERP สำหรับธุรกิจการบริการ (ซอฟต์แวร์กอล์ฟ ซอฟต์แวร์การจัดการโรงแรม ซอฟต์แวร์การจัดการรีสอร์ท ซอฟต์แวร์การจัดการกิจกรรม ร้านอาหาร ซอฟต์แวร์การจัดการอาหารและเครื่องดื่มและครัวกลาง ซอฟต์แวร์สปา การจัดการร้านค้าปลีกขายส่ง การจัดการแฟรนไชส์ ​​และอื่นๆ ธุรกิจบริการ)

สามารถติดต่อ CiMSO ERP Software   เพื่อสาธิตการใช้งานสั้นๆ (ฟรี ผ่านระบบออนไลน์) ได้ที่ 02-1296312 หรือ  Marketingth@cimso.com

If you require a consultant system and an ERP system for hospitality businesses (golf software, hotel management software, resort management software, event management software, restaurant, F&B and Central Kitchen Management Software, spa software, wholesale retail management, franchise management, and other service businesses)

Feel free to contact CiMSO ERP Software  for a short demo (free, via online) at 02-1296312 or marketingth@cimso.com

5.2-Ci-Header-GOLFmanager-c

To contact CiMSO Sales Team by phone, please call +66-21296312 or email at marketingth@cimso.com

Lotus Valley Golf Resort เลือก CiMSO Fully Integrated Software

คงไม่มีใครในวงการกอล์ฟ ไม่รู้จักสนามกอล์ฟ โลตัสวัลเล่ย์ (Lotus Valley Golf Resort) ซึ่งเป็นสนามที่มีความเป็นส่วนตัวสูงและเป็นสนามระดับมาตราฐาน 18 หลุม พาร์ 72 ระยะ 7,015 หลา เป็นสนามที่เดินทางจากกรุงเทพฯ ค่อนข้างสะดวก ใช้เวลาขับรถแค่เพียงหนึ่งชั่วโมงครึ่งเท่านั้น ก็จะมาพบกับสนามกอล์ฟที่ถูกแยกออกมาจากบรรยากาศเมือง ทำให้ได้บรรยากาศที่สงบไม่วุ่นวาย

นอกจากสนามกอล์ฟแล้ว Lotus Valley Golf Resort ยังให้บริการอื่นๆต่อเนื่องจากการให้บริการสนามกอล์ฟ เรียกได้ว่า เป็น Golf club ที่พร้อมให้บริการ นักกอล์ฟที่วางแผนมาเล่นกอล์ฟพร้อมกับการพักผ่อน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าพักโรงแรม (Sappaya Hotel) การรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร เป็นต้น  

Fragmented Software? 

ก่อนที่ สนามกอล์ฟ โลตัสวัลเล่ย์ (Lotus Valley Golf Resort) จะเลือกใช้ CiMSO GOLFmanager  สนามกอล์ฟโลตัสวัลเล่ย์ เคยใช้ระบบหรือซอฟอต์แวร์ในการบริหารจัดการ สนามกอล์ฟ แยกออกจาก ระบบร้านอาหาร และระบบโรงแรม ซึ่งการใช้ระบบ/ซอฟต์แวร์แยกส่วนกัน โดยทั่วไปเรียกว่า การใช้ซอฟต์แวร์แยกส่วน (Fragmented software)  

การใช้ซอฟต์แวร์แยกส่วน หรือ Fragmented Software ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรสำหรับองค์การที่เริ่มทำธุรกิจ เช่น หากคุณเริ่มธุรกิจสนามกอล์ฟ ที่มีร้านอาหารเล็กๆ ในสนามกอล์ฟ คุณคงมองหา ซอฟต์แวร์สนามกอล์ฟดีๆสักตัวที่ช่วยในการจองรอบ ออกตั๋ว (Tee booking) และระบบคิดเงินใน Proshop ซึ่งน่าจะเป็นระบบ POS ดีๆสักตัว ก็สามารถบริหารจัดการสนามกอล์ฟได้แล้ว แต่เมื่อสนามคุณเริ่มใหญ่ขึ้น คุณเริ่มตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยบริการอื่นๆ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ฟิตเนส สปา หรือแม้กระทั้ง คลับ วีเว้นท์ ต่างๆ แบบนี้หากคุณเลือกซื้อซอฟต์แวร์เพื่อใช้ไปในแต่ละบริการที่คุณมี ก็จะทำให้การบริการจัดการเกิดความยุ่งยาก และมีสิ่งที่คุณต้องเล็งเห็นถึงความสำคัญ ดังนี้

1.ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

แน่นอนว่า ผู้ประกอบการย่อมอยากให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การเลือกใช้ระบบที่ดีและเชื่อมต่อกันทั้งระบบ เป็นการให้การสนับสนุนการทำงานของพนักงานที่สำคัญและเป็นหัวใจหลักของการทำงาน  

หากพนักงานไม่สามารถทำงานได้อย่างประสิทธิภาพเพราะระบบซอฟต์แวร์ที่พวกเขาใช้ล้าสมัย ข้อผิดพลาดในสถานที่ทำงานจะเพิ่มขึ้น เสียเวลาและไม่เกิดประสิทธิผล คุณลองคิดภาพการที่พนักงานของคุณจะต้องรอเอาข้อมูลจากร้านอาหารมาคีย์ในระบบบัญชี เพื่อออกใบกำกับภาษีฉบับเต็มให้กับลูกค้า การทำแบบนี้นอกจากจะล่าช้าและเกิดความผิดพลาดได้ง่าย เมื่อเทียบกับการเลือกใช้ระบบที่สามารถส่งข้อมูลระหว่างกันได้อัตโนมัติที่จะสามารถเช็คข้อมูลได้อย่างเรียลไทม์ ออกใบกำกับฯได้ในภายในไม่กี่คลิก  

2.ขาดการมองเห็นแบบเรียลไทม์

การเลือกใช้ซอฟต์แวร์แบบกระจัดกระจายที่ประกอบด้วยหลายฐานข้อมูล การได้มาของข้อมูลที่ครบถ้วนจากทุกแผนกจะใช้เวลานานมาก ซึ่งหลายองต์กรไม่สามารถได้ข้อมูลที่ใช้งานต่อได้เลย ไม่ว่าจะเป็น  รายงานและสถิติเกี่ยวกับการเงิน การขาย และการตลาด ซึ่งรายงานเหล่านี้มีความสำคัญต่อการพิจารณาสถานภาพของธุรกิจ ผู้บริหารต้องการใช้ข้อมูลสำคัญนี้เพื่อการวิเคราะห์ การเลือกใช้ Fragmented Software อาจส่งผลเสียต่อการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว

3.ความซับซ้อนและต้นทุนสูงในการบูรณาการระบบ

มีหลายองค์กร ไม่ต้องการปรับขั้นตอนการทำงานของพนักงาน จึงเลือกที่จะจ้างโปรแกรมเมอร์มาเขียนโปรแกรมเพื่อเชื่อมต่อระบบเดิม ที่เป็น Fragemented Software เชื่อมต่อเพื่อให้ทุกแผนกสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น หรือที่เรียกว่า Interface ซึ่งหากศึกษาให้ดี ในระยะยาว การเลือกใช้อินเทอร์เฟซเหล่านี้ (Interface) มักมีค่าใช้จ่ายและมาพร้อมกับค่าบำรุงรักษาที่สูง อินเทอร์เฟซก็มีแนวโน้มที่จะเกิดข้อผิดพลาด มีข้อจำกัด ทำให้ไม่สามารถเติบโตได้ในอนาคต 

4.ผลกระทบต่อการเติบโตของลูกค้า

เป้าหมายของการทำธุรกิจ คือ การรักษาฐานลูกค้าเดิม เพิ่มฐานลูกค้าใหม่ ส่งผลกระทบต่อยอดรายได้ขององค์กร ซึ่ง CDP หรือ Customer Data Platform มีความสำคัญในการช่วยให้คุณวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการทำการตลาดให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และต่อยอดไปยัง CRM ซึ่งระบบ CDP และ CRM ที่ดีควรจะเป็นระบบเดียวกันกับระบบที่คุณใช้ในการให้บริการลูกค้า  

สนามกอล์ฟ โลตัสวัลเล่ย์ (Lotus Valley Golf Resort) เปลี่ยนมาใช้ Integrated Software

เมื่อการทำงานและข้อมูลของโรงแรม สนามกอล์ฟ และร้านอาหาร ไม่ลิ้งกัน ทำให้ทีมงานของ สนามกอล์ฟ โลตัสวัลเล่ย์ (Lotus Valley Golf Resort) มีความต้องการที่จะหาระบบที่เป็น single System ที่เป็นระบบเดียวซึ่งต้องมีความสามารถในการบริหารองค์กรให้เป็นหนึ่งเดียว ข้อมูลจากระบบที่เป็น Single System ที่่เป็นข้อมูลเดียวกันทั้งระบบทำให้ทีมงานสามารถได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เรียลไทม์และสามารถนำไปวิเคราะห์ทำการตลาดได้จริง ทำให้องค์กรเติบโตและขยายตัวได้ไวยิ่งขึ้น พนักงานทำงานผิดพลาดน้อยลง ผู้ประกอบการก็สามารถเห็นข้อมูลทุกขั้นตอนการทำงานได้อย่างเรียลไทม์ ซึ่ง Single System ที่ สนามกอล์ฟ โลตัสวัลเล่ย์ (Lotus Valley Golf Resort) เลือกใช้ คือ CiMSO GOLFmanager 

GOLFmanager คือ Integrated Software Suite เป็น ชุดโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อทำงานร่วมกัน ช่วยให้สามารถสื่อสารข้อมูลแบบเรียลไทม์และอัตโนมัติระหว่างแผนกต่างๆ ขององค์กรของคุณ ซอฟต์แวร์แบบครบวงจรประกอบด้วยการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) การขาย การป้อนคำสั่งซื้อ การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดซื้อและการออกใบแจ้งหนี้ การเงิน และฟังก์ชันอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้ระบบเดียวกัน แม้ว่านี่จะเป็นการลงทุนที่สูงและกระบวนการดำเนินการจะซับซ้อนเล็กน้อย แต่ก็คุ้มค่ากับการลงทุนในระยะยาวมากกว่า

รู้จัก CiMSO GOLFmanager 

CiMSO GOLFmanager คือ หนึ่งในโซลูชันซอฟต์แวร์การจัดการสนามกอล์ฟชั้นนำของโลกที่สนามกอล์ฟชั้นนำหลายแห่งใช้ โซลูชันนี้ครอบคลุมทุกด้านของการจัดการสนามกอล์ฟ ตั้งแต่การจัดการสมาชิก, คลับเฮาส์, CRM, Loyalty, Pro-Shop ไปจนถึง การจัดการร้านอาหาร โรงแรม ที่พัก และ สปา

โปรแกรมสนามกอล์ฟ CiMSO Golf Software มีความสามารถในการจัดการได้ทั้ง Front Office และ Back Office ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีระบบดังนี้

  • ระบบสมาชิก (CLUBmanager – Member & Loyalty Program)
  • ระบบจองสนาม การใช้บริการแคดดี้และรถกอล์ฟ (T-Booking)
  • การจัดคิวออกรอบ (Tee Grid)
  • การจำหน่ายคูปองค่าใช้สนาม (Green Fee)
  • ระบบบัญชี (BACKoffice – Accounting & Financial System)
  • ระบบจัดการสินค้าคงคลัง – INVENTORYmanager 

โุรายละเอียดความสามารถของระบบ CiMSO GOLFmanager ได้ที่บทความ <ระบบสนามกอล์ฟ (Golf Course Management System) คืออะไร>

ข้อดีของการใช้ระบบ GOLFmanager

  • ฝ่ายลงทะเบียนสมาชิก (membership) สามารถทำงานได้ไว
  • เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพภายในการทำงานของพนักงานและธุรกิจ โดยฝ่ายลงทะเบียนสมาชิก สามารถทำงานได้ไว
  • ลดความผิดพลาดในการทำงานของพนักงาน ในทุก ๆ ขั้นตอน
  • เพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าด้วยระบบจองคอร์สออนไลน์ ที่ลิ้งกับหน้าเว็บไซต์ของสนามกอล์ฟ
  • ลดรายจ่าย ในการจ้างพนักงานที่ทำงานซ้ำซ้อนกับการทำงานของระบบเพิ่มรายได้ด้วยการทำ Loyalty Program, การนำเสนอโปรโมชั่น, การจำหน่ายตั๋วแบบหมู่คณะ
  • ระบบบัญชีและจัดซื้อแบบรวมศูนย์ ช่วยลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน ล่าช้า ตกหล่นของพนักงาน และยังลดรายจ่ายในการจ้างคนในแผนกดังกล่าวเกินจำเป็น
  • สามารถเชื่อมต่อกับระบบจองห้องพัก หากสนามกอล์ฟมีบริการโรงแรม ห้องพัก
  • สามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดการร้านอาหาร ในการณีที่มีบริการร้านอาหาร บาร์ เครื่องดื่ม
  • เพื่อให้สามารถค้นหาและตรวจสอบข้อมูลได้สะดวกมากขึ้น
  • เพื่อให้กระจายงานออกเป็นส่วนๆ และทำงานไม่ซ้ำซ้อนกัน

นอกเหนือจากการนำเสนอความสามารถในการจัดการการดำเนินงานประจำวันของคุณอย่างเต็มที่แล้ว  CiMSO ยังมีฟังก์ชันรายงาน ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางการตลาด ที่มีประสิทธิภาพซึ่งช่วยให้คุณขับเคลื่อนการหาลูกค้าและตัดสินใจทางธุรกิจอย่างชาญฉลาดโดยใช้ข้อมูลจากระบบ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ <รู้จัก Customer Data Plateform (CDP) ที่ทุกธุรกิจต้องมี!>

หากคุณต้องการระบบที่ปรึกษาและระบบ ERP สำหรับธุรกิจการบริการ (ซอฟต์แวร์กอล์ฟ ซอฟต์แวร์การจัดการโรงแรม ซอฟต์แวร์การจัดการรีสอร์ท ซอฟต์แวร์การจัดการกิจกรรม ร้านอาหาร ซอฟต์แวร์การจัดการอาหารและเครื่องดื่มและครัวกลาง ซอฟต์แวร์สปา การจัดการร้านค้าปลีกขายส่ง การจัดการแฟรนไชส์ ​​และอื่นๆ ธุรกิจบริการ)

สามารถติดต่อ CiMSO ERP Software   เพื่อสาธิตการใช้งานสั้นๆ (ฟรี ผ่านระบบออนไลน์) ได้ที่ 02-1296312 หรือ  Marketingth@cimso.com

If you require a consultant system and an ERP system for hospitality businesses (golf software, hotel management software, resort management software, event management software, restaurant, F&B and Central Kitchen Management Software, spa software, wholesale retail management, franchise management, and other service businesses)

Feel free to contact CiMSO ERP Software  for a short demo (free, via online) at 02-1296312 or marketingth@cimso.com

5.2-Ci-Header-GOLFmanager-c

To contact CiMSO Sales Team by phone, please call +66-21296312 or email at marketingth@cimso.com

การตลาดโรงแรม Hotel Marketing กับซอฟต์แวร์โรงแรม

เมื่อสถานการณ์โควิดทุเลาและบรรเทาลง และเมื่อการท่องเที่ยวกลับมาอีกครั้ง โรงแรม รีสอร์ท ที่พัก สามารถกลับมาเปิดรับแขกเข้าพักได้อย่างเต็มที่อีกครั้ง ความท้าทายอันดับแรกของนักการตลาดโรงแรม ก็คือ  จะทำการตลาดโรงแรมอย่างไร เพื่อเรียกลูกค้า ดึงดูดให้แขกเลือกจองห้องพักของเรา

การตลาดโรงแรม (Hotel Marketing) คือการวางแผนกลยุทธ์และเทคนิคทางการตลาดโดยเฉพาะด้านโรงแรม ที่นักการตลาดโรงแรมใช้ส่งเสริมการตลาด เพื่อกระตุ้นการสร้างรายได้ สร้างยอดจองห้องพัก สร้างการรับรู้และการเข้าถึงด้านโปรโมชั่นและบริการต่าง ๆ ให้กับกลุ่มลูกค้า โดยผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ (website), OTA (Online Travel Agency), เอเจ้น (Travel Agency), สื่อโซเซียลมิเดีย (social media), และ ระบบจองห้องพัก 

ทำไมจะโรงแรมต้องทำการตลาด? 

  • เมื่อมีโรงแรมมากมายในโลเคชั่นเดียวกันมากมายแย่งชิงแขกคนเดียวกันกับโรงแรมของเรา หากการทำการตลาดของโรงแรมไม่ดี ก็จะทำให้โรงแรมโดดเด่นและดึงดูดการจองได้ยาก 
  • ปัญหาอีกประการหนึ่งของนักการตลาดโรงแรม ก็คือลักษณะของธุรกิจโรงแรมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากแนวโน้มและความชอบของแขกสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว

***สิ่งสำคัญ ของการเริ่มทำการตลาดโรงแรม คือ โรงแรมจะต้องกำหนดเป้าหมายและเข้าถึงกลุ่มแขกที่เฉพาะเจาะจงอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ครอบครัว นักเดินทางเพื่อธุรกิจ หรือนักเดินทางที่หรูหรา เป็นต้น นอกจากนั้น นักการตลาดโรงแรมจะต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อทำการตลาดและการจองอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนจัดการรีวิวและการให้คะแนนของแขกให้เป็น**

เป้าหมายของการตลาดเพื่อธุรกิจโรงแรม คืออะไร? 

  • เป็นการเพิ่มการรับรู้แบรนด์ ให้กลุ่มลูกค้าอย่างตรงเป้าหมาย
  • เพิ่มยอดจองห้องพัก
  • เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
  • เพิ่มช่องทางสื่อสารและมีส่วนรวม
  • สามารถปรับตัวและปรับกลยุทธ์เท่าทันสถานการณ์
  • ช่วยวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าและคู่แข่ง
  • ช่วยเพิ่มไอเดียต่อยอดธุรกิจโรงแรมต่อไป

บทความนี้ แนะนำวิธีทำการตลาดโรงแรม ที่ใช้ได้จริง ดังนี้ 

1.เว็บไซต์โรงแรม (Hotel website) 

การทำเว็บไซต์โรงแรม ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับนักธุรกิจโรงแรม ซึ่งเว็บไซต์เป็นด่านแรกของโรงแรมในการต้อนรับลูกค้า เพราะ หากเว็บไซต์โรงแรมให้ข้อมูลครบถ้วน มีภาพประกอบสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นมุมต่างๆของโรงแรม ห้องพักแต่ละรูปแบบ ข้อมูลเกี่ยวกับห้องพัก เงื่อนไขการเข้าพัก กิจกรรมอื่นๆที่นำเสนอ โปรโมชั่น วิธีการติดต่อ เป็นต้น ซึ่งหากแขกกดเข้าที่หน้าเว็บไซต์รู้สึกประทับใจและอยากเข้าพักอย่างแน่นอน 

เว็บไซต์โรงแรม นอกจากจะให้ข้อมูล ยังสามารถเพิ่มยอดขายด้วยระบบ Online Direct Booking ซึ่งนักการตลาดโรงแรมสามารถนำเสนอโปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าที่จองตรงผ่านหน้าเว็บไซต์ของโรงแรม ทำให้ลูกค้าประทับใจและโรงแรมได้รับยอดจองห้องพักทันที 

อย่างไรก็ตาม การทำเว็บไซต์โรงแรม จะต้องมีความต่อเนื่องในการอัพเดทข้อมูล การอัพเดทราคา และ อาจจะต้องพิจารณาถึงการซื้อโฆษณาบนระบบค้นหาหรือ Google ให้ Google ช่วยดันเว็บไซต์ของคุณขึ้นมาอยู่บนผลการค้นหาอันดับแรกๆ

โรงแรมหรือธุรกิจที่ทำการตลาดออนไลน์จึงต้องให้ความสนใจตลอดเช่นกัน และปรับวิธีจัดการพ้นที่ออนไลน์ของตัวเองให้เท่าทันกัน

2.ใช้ OTA (Online Travel Agencies) 

OTAs คือ เว็บไซต์กลุ่มหนึ่งที่ให้บริการด้านการจองที่พักตั๋วเครื่องบิน บริการท่องเที่ยวต่างๆ เช่น booking.com agoda.com tripadvisor.com เป็นต้น

ซึ่งระบบบริหารจัดการโรงแรมหรือซอฟต์แวร์โรงแรม (Hotel software) ที่มีระบบจัดการห้องพัก และ ระบบ Channel Manager จะช่วยให้โรงแรมจัดการการตลาดออนไลน์และจัดการจองได้ง่ายขึ้น และไม่ผิดพลาด (ไม่มี over booking) และโรงแรมเสียค่าใช้จ่ายโดยรวมน้อยลง

สิ่งสำคัญของการทำธุรกิจโรงแรมและมีการทำการตลาดผ่าน OTAs หลายๆเจ้า ซึ่งคุณจะพลาดไม่ได้ คือ การปรับเปลี่ยนราคาให้รวดเร็ว รองรับโปรโมชั่น ซีซัน และการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มลูกค้า ลองคิดภาพง่ายๆ ถ้าหากโรงแรมของคุณก็อยู่ในโลเคชั่นดี แต่ก็มีโรงแรมอีกหลายโรงแรมในโลเคชั่นเดียวกัน โรงแรมไหนมีระบบ Rate management เพื่อทำการปรับเปลี่ยนราคาในทุก OTAs ในคลิกเดียว เพื่อรองรับลูกค้าชาวจีนในช่วงวันหยุดยาวของคนจีนที่จะเดินทางเข้ามายังประเทศไทย แน่นอนว่าโรงแรมนั้นย่อมได้เปรียบ อัตราการจองเต็มไวกว่าเจ้าอื่นๆ อย่างแน่นอน ไม่ต้องไปรอลุ้นชิ้นเค้กส่วนที่เหลือ 

3. การตลาดผ่านอีเมล์ (Email marketing) 

การตลาดผ่านอีเมล์แบบ Direct Email เหมือนจะโบราณแต่เชื่อเถอะว่าได้ผลดีมาก รู้ไหมครับ ลูกค้าโรงแรมส่วนมากรู้สึกประทับใจเมื่อได้รับอีเมล์ที่มีเนื้อหาให้เกียรติลูกค้า ตั้งแต่การจองห้องพัก (booking confirmation) การแสดงความยินดีต้อนรับ (welcome email) การขอบคุณหลังการเข้าพัก (Thank you email) รวมถึงการส่งโปรโมชันสำหรับแขกที่เคยมาเข้าพัก (Promotion email) เพราะอีเมล์เหล่านี้ แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ ความประทับใจเล็กๆน้อยๆนี้กลับทำให้คุณได้ลูกค้ามากขึ้น จากการแนะนำให้กับเพื่อน ครอบครัว รวมถึงการให้คะแนนในระบบ OTAs อีกด้วย 

นอกจากการส่งอีเมล์ต่างๆ รวมถึงโปรโมชั่น ไปยังลูกค้า ดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว คุณยังสามารถส่งอีเมล์ อัพเดทเรื่องราวเล็กๆน้อยๆ ภายในดรงแรม การประบปรุง การพัฒนา บริการใหม่ๆ หรือแม้กระทั่วเรื่องเกียวกับทีมงาน ผู้บริหาร สิ่งเหล่านี้ทำให้ลูกค้าเห็นว่าโรงแรมมีวิสัยทัศน์เป็นอย่างไร ทำให้ลูกค้าที่ชื่นชอบสามารถส่งต่อวิสัยทัศน์นั้นๆไปยังลูกค้าใหม่ๆให้กับโรงแรม ถือเป็นการตลาดทางอ้อมอีกด้วย 

การส่งข้อมูลผ่านทางอีเมล์ แม้จะไม่ได้ลูกค้าในวงกว้างแบบ Social Media แต่ก็ได้ผลดีและอาจดีกว่าในด้านการตัดสินใจจองห้องพัก ลูกค้าที่ได้รับอีกเมล์สามารถส่งต่ออีเมล์หรือแคปหน้าจอส่งต่อให้กับเพื่อน ครอบครัว ได้ง่ายและทันที

4. โซเชียลมีเดีย (Social Media) 

โซเชียลมีเดีย เป็นอีกหนึ่งประตูบ้านของโรงแรม นอกจากเว็บไซต์และยังเป็นประตูบ้านที่มีพื้นที่ให้เราได้มีลูกเล่น มีห้องไว้ให้ข้อมูล ตอบคำถาม แลกเปลี่ยนเรื่องราวกับลูกค้า หากโรงแรมรู้จักการบริหารโซเชียลมีเดียดีๆ โพสต์เข้ากับกระแส สม่ำเสมอ ใช้รูปแบบที่เข้ากับระบบและสถานการณ์ เช่น ภาพ คลิปวิดีโอ และมีโซเชียลมีเดียหลายช่องทาง จะเป็นประโยชน์กับโรงแรมอย่างมาก

นอกจากนั้น โรงแรมสามารถใช้โซเชียลมีเดียในเรื่องการโปรโมทที่ตั้งโรงแรม ช่องทางการจองห้องพัก การบริการ สิ่งอำนวยความสะดวก และแจ้งโปรโมชั่นโรงแรม 

สิ่งที่สำคัญมากสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียสำหรับธุรกิจโรงแรม ก็คือ การโพสอย่างมีความคิดสร้างสรร มองโลกในแง่ดี และโพสที่ควรจะผสมผสานกับเรื่องราวอื่นๆที่น่าสนใจที่มีความเกี่ยวกับธุรกิจโรงแรมของคุณ

เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมล้ำหน้าทั้งหลายที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจโรงแรมจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่ลูกค้าคาดหวัง หรือถ้าไม่มีอาจกลายเป็นแปลกได้เลย เทคโนโลยีพื้นฐานที่โรงแรมต้องมีคือ เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย อีเมล์ และ OTAs แต่จะบริหารสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดอย่างไรให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน โรงแรมจึงต้องมีตัวช่วยที่ทำให้ทีมงานทำงานง่ายและไปในแนวทางเดียวกัน เช่น หากต้องการปรับราคาก็ควรปรับราคาจากระบบโรงแรม ซึ่งจะลิ้งไปที่ราคาหน้าเว็บไซต์และที่ OTAs ทั้งหมดในทีเดียว เป็นต้น

ลองดูระบบบริหารจัดการโรงแรม CiMSO INNkeepar ที่เป็นระบบ ERP Hospitality ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์โรงแรม ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการโรงแรมสามารถบริหารจัดการจองห้องพัก (booking) การเข้าพัก (Check-in) การชำระเงินและออกจากที่พัก (Check-Out) รวมถึงการบริหารจัดการภายในของโรงแรม ไม่ว่าจะเป็นส่วนของแม่บ้าน ช่างซ่อมบำรุง เช่น การปิดห้องซ่อม การปรับสถานะห้องพัก ห้องว่าง ห้องสกปรก เป็นต้น <ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ หัวข้อ รู้จัก ระบบการจัดการโรงแรม INNkeeper – Hotel software>

INNkeeper นอกจากจะมีฟังก์ชั่น ครอบคลุมการจองห้องพัก การจัดการส่วนหน้า (Hotel PMS) และงานส่วนแม่บ้าน (HOUSEkeepet) ของโรงแรมแล้ว INNkeeper ยังมีระบบที่เชื่อมต่อกันซึ่งช่วยให้คุณบริหารจัดการธุรกิจต่อเนื่องจากการให้บริการห้องพักได้อย่างง่ายดายในระบบเดียว รวมถึงเก็บข้อมูล CDP ได้มีคุณภาพอย่างที่คุณต้องการ ไม่ว่าจะเป็น…

  • RESTaurateur ระบบร้านอาหาร
  • GOLFmanager ระบบสนามกอล์ฟ
  • CLUBmanager ระบบสมาชิก คลับ
  • SHOPkeeper ระบบร้านค้า คาเฟ่
  • REALter ระบบเช่าพื้นที่ เช่ารายเดือน service apartment
  • STOCKmanager ระบบจัดซื้อ คลังสินค้า
  • BACKoffice ระบบบัญชี การเงิน

และระบบอื่นๆ

If you require a consultant system and an ERP system for hospitality businesses (golf software, hotel management software, resort management software, event management software, restaurant, F&B and Central Kitchen Management Software, spa software, wholesale retail management, franchise management, and other service businesses)

Feel free to contact CiMSO ERP Software  for a short demo (free, via online) at 02-1296312 or marketingth@cimso.com

5.2-Ci-Header-GOLFmanager-c

To contact CiMSO Sales Team by phone, please call +66-21296312 or email at marketingth@cimso.com

ระบบการจองห้องพัก Hotel Direct Booking ของ CiMSO ทำงานอย่างไร

ระบบการจองห้องพัก (Hotel Direct Booking) หรือ โปรแกรมการจองห้องพักโดยตรง คือเครื่องมือสำหรับโรงแรมและรีสอร์ต เพื่อรองรับการจองห้องพัก ซึ่งไม่ว่าลูกค้าของคุณจะอยู่ที่ประเทศไหนของโลก ก็สามารถเช็คห้องว่างราคาห้องพักหรือสามารถจองห้องพักผ่านทางเว็บไซต์ของโรงแรมและจ่ายเงินทันทีได้เลยโดยที่ระบบจะส่งใบยืนยันการจองห้องพักให้กับลูกค้าของคุณโดยอัตโนมัติ

ทำไมโรงแรมจึงควรมีระบบ Hotel Booking

  1. Direct booking เพิ่มยอดการจองห้องพักและรายได้ให้กับโรงแรม
  2. เพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดออนไลน์ ด้วย ระบบจองห้องพักออนไลน์ (Online Direct Booing) 
  3. เพิ่มความรวดเร็วในขั้นตอนการเข้าพัก (Check-in)
  4. รักษาความสัมพันธ์โดยตรงกับลูกค้าและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า
  5. โรงแรมไม่จ่ายค่าคอมมิชชันให้กับบุคคลที่สาม เช่น OTAs หรือ เอเจ้น 

อย่างไรก็ตาม Hotel Direct Booking ไม่ได้ฟรีทั้งหมด…

ประการแรก คุณต้องมีระบบการจองออนไลน์บนเว็บไซต์ของคุณ (Online Direct Booing) เพื่อรับการจองและดำเนินการชำระเงิน แม้ว่าจะไม่เรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นก็ตาม 

ประการที่สอง คุณต้องลงทุนด้านการตลาดเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดของคุณ

ซึ่งการใช้ ซอฟต์แวร์โรงแรม ที่มีระบบจองห้องพักออนไลน์ (Online Direct Booing) นอกจากจะมีประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้นแล้วระบบที่ดีจะมี โปรแกรมสะสมคะแนน โปรแกรมสมาชิก ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนทั้งหมดได้โดยการเพิ่มมูลค่า ตลอดอายุการใช้งานของแขกแต่ละคน

ระบบจองห้องพักโดยตรง (Hotel Online Booking) ของ CiMSO INNkeeper ทำงานอย่างไร

  1. เมื่อมีการจองห้องพัก ไม่ว่าจะ โดย …
    1. โทรโทรศัพท์เข้ามาจองห้องพัก หรือ 
    2. อีเมล์ตรงมาที่โรงแรม หรือ  
    3. ติดต่อเจ้าหน้าที่โรงแรม ผ่าน social network ต่างๆ เช่น facebook, LINE. IG เป็นต้น หรือ 
    4. กดเลือกห้องพักและจอง ผ่านหน้าเว็บไซต์ของโรงแรม หรือเรียกว่า จองห้องพักออนไลน์ (Online Direct Booking)
  2. ข้อมูลการจองจะถูกส่งตรงมายัง ระบบจองห้องพัก (Hotel Booking) ของ CiMSO INNkeeper โดยที่ห้องพักที่ถูกจองจะมีข้อมูลของแขกที่จอง 
  3. ระบบจะส่ง Email Confirmation ตรงไปยังผู้จอง เพื่อยืนยันการจอง 
  4. (เช็คอิน) เมื่อแขก เดินทางมาถึง โรงแรม และทำการ เช็คอินเพื่อเข้าพัก พนักงานต้อนรับจะสามารถเปิดห้องพักและเดินเอกสารได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากข้อมูลผู้เข้าพักส่วนใหญ่มาถึงตั้งแต่ทำการจองแล้ว 
  5. แขกและผู้เข้าพักร่วมของแขก สามารถใช้บริการต่างๆภายในโรงแรม ไม่วว่าจะเป็นร้านอาหาร สปา กิจกรรมอื่นๆ ว่ายน้ำ เป็นต้น โดยค่าใช้จ่ายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นสามาถระบุเข้ามาที่ folio เดียวเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ความชื่นชอบต่างๆของแขก และรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อทำการชำระครั้งเดียว ณ วันเช็คเอาท์
  6. (เช็คเอาท์) ในขั้นตอนการเช็คเอาท์ของแขก เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ควรจะมีความสะดวก รวดเร็วและไม่ผิดพลาด เพราะแขกอาจมีภาระหน้าที่ที่จะต้องเดินทางไปยังอีกจุดหมายหนึ่ง ซึ่งโรงแรมที่มีระบบ ERP จะสามารถรวบรวมค่าใช้จ่ายต่างๆ สรุป ส่งยอดค่าใช้จ่ายและออกใบกำกับภาษี(หลังการชำระเงิน) ให้กับลูกค้าได้ทันทีภายในไม่กี่วินาที

ระบบการจองห้องพัก Hotel Direct Booking ไม่ว่าจะเป็นการจองตรงผ่านพนักงานของโรงแรม หรือเป็นการจองผ่านหน้าเว็บไซต์ (Online Direct Booking) ล้วนเป็นหนึ่งในช่องทางที่จะสร้างความประทับใจให้กับแขก ซึ่งการเข้าถึงหน้าเว็บไซต์อขงโรงแรมเป็นการสร้างความประทับใจแรกที่คุณทิ้งไว้ให้กับแขก และโรงแรมสามารถสร้างความประทับใจแรกที่ดีเยี่ยมและเชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมายของคุณ ได้ หากคุณรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของโรงแรมคือใคร สร้างรูปภาพ วีดีโอ สื่อ รวมถึงเนื้อหาที่สอดคล้องกันเพื่อสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ที่ยอดเยี่ยม และรักษาฐานลูกค้าในระยะยาว

If you require a consultant system and an ERP system for hospitality businesses (golf software, hotel management software, resort management software, event management software, restaurant, F&B and Central Kitchen Management Software, spa software, wholesale retail management, franchise management, and other service businesses)

Feel free to contact CiMSO ERP Software  for a short demo (free, via online) at 02-1296312 or marketingth@cimso.com

5.2-Ci-Header-GOLFmanager-c

To contact CiMSO Sales Team by phone, please call +66-21296312 or email at marketingth@cimso.com

ยื่นแบบ ภาษีสรรพาสามิต ด้วยระบบ CiMSO – Hospitality & Business ERP software

ภาษีสรรพาสามิต (excise tax) เป็นภาษีอีกตัวหนึ่ง ที่ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าและให้บริการบางประเภทจะต้องให้ความสนใจ และดำเนินการให้ถูกต้อง เพราะภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ และศีลธรรมอันดี มีลักษณะฟุ่มเฟือย และสินค้าและบริการที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ เป็นต้น เพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลนำไปบริหารประเทศ และทะนุบำรุงท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย

สนามกอล์ฟ (Golf course) เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีสนามกอล์ฟตามนโยบายรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นการควบคุม จำกัด และป้องกันการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย ตามบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ตอนที่ 19 กิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หมายความว่า การประกอบกิจการที่มีผลกระทบต่อดุลยภาพของ สิ่งแวดล้อมเพื่อหารายได้เป็นธุรกิจ เช่น สนามกอล์ฟ เป็นต้น

แล้ว ภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากสนามกอล์ฟ มีอะไรบ้าง?

กรมสรรพสามิต กำหนดให้จัดเก็บภาษีจากค่าใช้บริการของสนามกอล์ฟ และค่าสมาชิกของสนามกอล์ฟ

(1) ค่าสมาชิก และ (2) ค่าใช้บริการสนามกอล์ฟ โดยจัดเก็บภาษีตามมูลค่า อัตราร้อยละ 10 และภาษีเพิ่มเพื่อราชการส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 10 ของภาษีสรรพสามิต

1. ค่าสมาชิก ได้แก่ 

  • รายรับจากค่าสมาชิก รวมถึงค่าสมัครสมาชิกด้วย
  • รายรับจากค่าสมาชิกที่ผ่อนชำระเป็นงวดๆ ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2540 เป็นต้นไป
  • รายรับจากค่าธรรมเนียมการโอนค่าสมาชิก เฉพาะส่วนที่เป็นรายได้ของสนามกอล์ฟ
  • รายรับอื่นใดที่เรียกเก็บจากสมาชิก เช่น ค่าบำรุงสนามที่เก็บเป็นรายปีหรือ รายเดือน เป็นต้น

2. ค่าใช้บริการสนามกอล์ฟ ได้แก่ 

  • ค่า Green fee
  • ในกรณีที่ค่า Green fee รวมอยู่ในค่าบริการท่องเที่ยวแบบเหมาจ่าย (Package tour) ให้คิดค่า Green fee ตามที่ผู้ประกอบการสนามกอล์ฟได้รับจริงแต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของค่า Green fee ปกติของสนามนั้น

การบริการท่องเที่ยวแบบเหมา ( Package Tour ) ซึ่งจะคิดค่า Green Fee ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 ของค่า Green Fee ปกติตามข้อ 2.2 ได้ จะต้องเป็นบริการท่องเที่ยว แบบเหมา ( Package Tour ) ซึ่งคิด ค่าบริการที่พัก อาหาร และบริการอื่นๆ รวมทั้งค่า Green Fee ไว้ด้วยกัน และการให้บริการที่พัก ดังกล่าวจะต้องเป็นการจัดให้พัก ในห้องพักซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณสนามด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก ส่วนตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม สานักงานสรรพสามิตภาคที่ 3, กรมสรรพาสามิต

จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต เมื่อใด? 

ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 มาตรา 54 ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ ยื่นแบบรายการภาษีตามแบบที่อธิบดีกำหนดพร้อมกับชำระภาษีภายในวันที่ 15 (สิบห้า) ของเดือนถัดจากเดือนที่มีความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น ซึ่งความรับผิดทางภาษีจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ

แล้ว CiMSO เป็นระบบต่างประเทศ จะรองรับการชำระภาษีสรรพาสามิตหรือไม่? 

รองรับแน่นอน ระบบ CiMSO ERP Software นอกจากจะรองรับการออกรายงานภาษีซื้อ-รายงานภาษีขาย การชำระภาษีแบบต่างๆ (ด้วยการดึงข้อมูลเป็น csv. โอนเข้าระบบยื่นภาษีออนไลน์ของกรมสรรพากร) แล้วยังรองรับการทำข้อมูลในรูปบบ csv. สำหรับการจัดทำบัญชีประจำวันแสดงรายรับค่าบริการตามแบบที่อธิบดีกาหนด (ภษ.03-07) ดังรายละเอียดและขั้นตอนง่ายๆด้วยการตั้งค่าแบบฟอร์มของ ภส.03-07 เอาไว้ในระบบ CiMSO ได้เลย จากนั้นเมื่อต้องการจะยื่น (เช่น ทุกวันที่ 15 ของเดือน) ก็เข้ามาที่แบบฟอร์มที่ตั้งค่าไว้ จากนั้นกดเลือกเดือนที่ต้องการ และดาวโหลดข้อมูลออกไปเป็น csv และนำเข้าระบบของกรมสรรพาสามิตได้ทันที ง่ายๆแค่อึดใจเดียว ^______________^

มาดู วิธีตั้งค่าแบบฟอร์ม ภส.03-07 อย่างง่ายกัน

1. ให้เข้าไปที่รายงานการทำธุรกรรม (Transaction Console) หรือ เรียกอีกอย่างว่ารายงาน F700 และทำการกรองข้อมูลเฉพาะค่าสินค้าและบริการที่มีภาษีสรรพสามิตรเท่านั้น เช่น ค่าสนามกอล์ฟ ค่าธรรมเนียมสมาชิก และ อื่น

2. บันทึกการกรองค่าสินค้าและบริการดังกล่าวในชื่อเทมเพลตรายงาน “ภส. 03-07” เพื่อนำรูปแบบการกรองในลักษณะนี้ไว้ใช้ในอนาคตได้

3. ในครั้งถัดๆไปสามารถมาเลือกเทมเพลตรายงาน ภส.03-07 ที่บันทึกไว้และกดออกรายงานได้เลย

มาดู ขั้นตอนการออกรายงานภาษีสรรพสามิตร โดยดึงข้อมูลเป็นไฟล์ .csv ออกมาพร้อมยื่นในเว็บไซต์กรมสรรพาสามิต

  1. ทุกครั้งที่มีการทำธุรกรรมการขายไม่ว่าจะเป็นการขายเงินสด (CSS) หรือ การขายเงินเชื่อ (DIN) ซอฟต์แวร์คิมโซจะทำหน้าที่บันทึกรายการดังกล่าว ทั้งในส่วนของรายได้ ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตร เพื่อนำไปยื่นภาษีในขั้นตอนถัดไป
  2. พนักงานที่ดูแลในเรื่องการยื่นภาษีสรรพสามิตร สามารถเข้ามาในรายงานการทำธุรกรรม (Transaction Console) และเรียกรายงานภาษี “ภส. 03-07” โดยสามารถเรียกดูได้ทั้ง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือสามารถระบุช่วงระยะเวลาวันที่ที่ต้องการดึงรายงานได้อย่างไม่จำกัด
  3. ซอฟต์แวร์คิมโซ จะออกรายงานมาในลักษณะของข้อมูลดิบซึ่งเป็นไฟล์ .CSV เพื่อนำเป็นอัพโหลดในเว็บไซต์กรมสรรพสามิตร อีกทั้งยังสามารถออกเป็นรายงานสำเร็จรูปไฟล์ pdf เพื่อใช้เป็นรายงานเก็บข้อมูลภายในได้

(ออกรายงานเป็นไฟล์ .csv เพื่อให้ได้ข้อมูลดิบ)

(ออกรายงานเป็นไฟล์ .pdf เพื่อใช้เป็นรายงานภายใน)

4. หากต้องการข้อมูลดิบเพื่อทำการอัพโหลดเพื่อยื่นเข้าสู่เว็บไซต์กรมสรรพสามิตร ให้เลือกเป็นไฟล์ประเภท .csv เพื่อนำไปอัพโหลดข้อมูลต่อไป

5. ออกฟอร์ม “ภส.03-07” ด้วยระบบยื่นภาษีสรรพสามิต ของกรมสรรพาสามิต และทำการยื่นแบบฟอร์ม ชำระเงินค่าภาษีสรรพสามิตต่อไป

If you require a consultant system and an ERP system for hospitality businesses (golf software, hotel management software, resort management software, event management software, restaurant, F&B and Central Kitchen Management Software, spa software, wholesale retail management, franchise management, and other service businesses)

Feel free to contact CiMSO ERP Software  for a short demo (free, via online) at 02-1296312 or marketingth@cimso.com

5.2-Ci-Header-GOLFmanager-c

To contact CiMSO Sales Team by phone, please call +66-21296312 or email at marketingth@cimso.com

CDP (Customer Data Platform) เพื่อการตลาดโรงแรม ควรเป็นอย่างไร

ปัจจุบันนี้ การเอาข้อมูลของลูกค้า (Customer Data) มาเป็นเครื่องมือสำหรับการทำการตลาด ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่แต่อย่างใด เพราะยุคนี้เป็นยุคที่ถ้าใครสามารถรวบรวมข้อมูลของลูกค้า และสามารถเอามาบริหารจัดการวิเคราะห์ นำเอาข้อมูลไปใช้ เพื่อสร้างประโยชน์ทางธุรกิจได้ ก็จะเป็นผู้ที่สามารถเอาชนะคู่แข่งทางธุรกิจได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมที่มีอัตราการแข่งขันค่อนข้างสูง

นักการตลาดโรงแรมจึงหันมาให้ความสนใจกับการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีคุณภาพ เพื่อทำการตลาดโรงแรม แต่ปัญหาที่นักการตลาดโรงแรมเจอก็คือ การรวมรวมข้อมูลคุณภาพ เพราะโรงแรมมีการเก็บข้อมูลไว้มากมาย ตั้งแต่มีการจองห้องพัก เข้าพัก ให้บริการระหว่างเข้าพัก เป็นต้น แต่ข้อมูลนั้นมีความกระจัดกระจาย และอยู่ในหลายระบบ เช่น ในระบบ PMS ระบบร้านอาหาร หรืออยู่ในอีเมล์ที่รับจองห้องพัก ทำให้ยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะการนำข้อมูลมาใช้จริง

แล้วจะแก้ไขปัญหา ข้อมูลลูกค้า กระจัดกระจายได้อย่างไร?

เพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลที่ดี และมีคุณภาพ คุณจำเป็นที่จะต้องมีระบบกลางที่จะช่วยรวบรวม ฐานข้อมูลลูกค้าที่เข้าพัก ความชื่นชอบ ลักษณะนิสัยของแขก ครอบครัว ซึ่งระบบกลางจะรวบรวมและทำให้นักการตลาดโรงแรสามารถเอาข้อมูลนั้นไปทำการประมวลผล ต่อยอด ทำการตลาด ไม่ว่าจะแผนโปรโมชั่น ออกเวาร์เชอร์ สร้างระบบความภัคดี ระบบสมาชิก ซึ่งระบบกลางนี้ เรียกว่า Customer Data Platform หรือ CDP

และนี่คือ ปัญหาบางส่วนที่ CDP ช่วยแก้ไขได้

  1.   ฐานข้อมูลเดียว (Sole Data): หากไม่มีแพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์ ข้อมูลลูกค้าสามารถกระจายไปตามระบบและแผนกต่างๆ ได้ ทำให้ยากต่อการดูภาพรวมของแขกแต่ละคน CDP สามารถช่วยนำข้อมูลทั้งหมดนี้มารวมไว้ในที่เดียวโดยเป็นแหล่งข้อมูลคุณภาพเดียว
  2.   โปรไฟล์ลูกค้าไม่สมบูรณ์ (Incomplete Customer Profiles): เนื่องจากข้อมูลที่กระจายไปทั่วหลายระบบ จึงอาจเป็นเรื่องยากที่จะสร้างโปรไฟล์ที่ครอบคลุมของแขกแต่ละคน CDP สามารถช่วยเติมเต็มช่องว่าง ทำให้เห็นภาพพฤติกรรมและความชอบของแขกแต่ละคนได้ครบถ้วนมากขึ้น
  1.  ขาดข้อมูลส่วนบุคคล (Lack of Personalization): หากไม่มีมุมมองที่ครอบคลุมของแขกแต่ละคน การมอบประสบการณ์ที่เป็นส่วนตัวอาจเป็นเรื่องยาก CDP สามารถช่วยให้โรงแรมใช้ข้อมูลแขกเพื่อสร้างข้อเสนอ คำแนะนำ และการสื่อสารส่วนบุคคลได้
  2. การตลาดไม่มีประประสิทธิภาพ (Inefficient Marketing):  หากไม่มีฐานข้อมูลลูกค้าแบบรวมศูนย์ โรงแรมอาจประสบปัญหาในการสร้างแคมเปญการตลาดแบบกำหนดเป้าหมาย CDP สามารถช่วยให้โรงแรมใช้ข้อมูลแขกเพื่อแบ่งกลุ่มฐานลูกค้าและสร้างแคมเปญการตลาดที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
  3.  ไม่มีความความผูกพันกับลูกค้า(Inefficient Marketing): โรงแรมอาจประสบปัญหาในการมีส่วนร่วมกับแขกอย่างมีนัยสำคัญ หากว่าโรงแรมไม่ได้เข้าใจพฤติกรรมและความชอบของแขกได้ครบถ้วน CDP สามารถช่วยให้โรงแรมใช้ข้อมูลแขกเพื่อสร้างการสื่อสารที่เป็นส่วนตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปรับปรุงการมีส่วนร่วมของลูกค้า

แล้วจะเลือกใช้ CDP จากระบบไหนดี?

นักการตลาดโรงแรม เข้าใจดีว่า DCP มีผลกระทบอย่างมากต่อยอดขายและรายได้ของโรงแรม ด้วยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากจุดสัมผัสต่างๆ (touchpoints) ในการเข้าใช้บริการแต่งละอย่างของแขก จึงสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเกี่ยวกับพฤติกรรมและความชอบของลูกค้าได้ ข้อมูลนี้สามารถใช้เพื่อแจ้งกลยุทธ์ทางการตลาดและการขาย เช่น การส่งเสริมการขายที่ตรงเป้าหมายและโอกาสในการขายต่อยอด นอกจากนั้น CDPยังช่วยให้โรงแรมปรับเปลี่ยนประสบการณ์ของลูกค้าโดยเฉพาะของแต่ละคนได้ (personalize the customer experience) ซึ่งอาจนำไปสู่ความภักดี (Loyalty) ของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้าได้

แพลตฟอร์ม CDP ที่ดีจึงสมควรที่จะ integrate กับระบบซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่ใช้ภายในโรงแรม ไม่ว่าจะเป็น ซอฟต์แวร์โรงแรม (INNkeeper – Hotel software) ซอฟต์แวร์ร้านอาหาร (RESTaurateur – Restaurant software)  ซอฟต์แวร์บัญชี (BACKoffice – accounting software) ซอฟต์แวร์กิจกรรม (ACTIVities – Activities booking software) ซอฟต์แวร์สนามกอล์ฟ (GOLFmanager – Golf T-booking & Green Fees software) ซอฟต์แวร์ร้านสปา (SPAscheduler – Spa & Hydro wellness software) เป็นต้น เพื่อให้โรงแรมสามารถรวบรวมข้อมูลของแขก/ลูกค้าได้ทุกจุดสัมผัส

และเพื่อที่จะรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ CDP ระบบโรงแรมที่ครอบคลุมการบริการจัดการโรงแรม (Hotel Management software) ควรจะมีคุณสมบัติในการรวบรวมข้อมูลสำคัญภายใต้กฎหมาย PDPA ดังต่อไปนี้

  • ข้อมูลการจอง –  มีระบบ Channel manager ลิ้งกับ Online Hotel booking ซึ่งเมื่อลูกค้าจองห้องพัก จะระบุข้อมูลผู้จอง ห้องพัก อาหาร วันเข้าพัก จำนวนคน รายชื่อ อายุแขกที่เข้าพัก ข้อมูลความต้องการพิเศษอื่นๆ (ถ้ามี)
  • ข้อมูลการเข้าพัก – มีระบบ PMS ซึ่งเป็นระบบบริหารงานส่วนหน้าของโรงแรม เก็บข้อมูลการ check-in / check-out การชำระเงิน วางมัดจำ ของแขกผู้เข้าพัก
  • ข้อมูลความชื่นชอบอื่นๆ จากจุดสัมผัสต่างๆ ที่แขกเข้าใช้บริการ เช่น ร้านอาหาร (ระบบร้านอาหาร Restaurant POS) ร้านสปา (ระบบสปา Spa POS) การจองรอบตีกอล์ฟ (ระบบสนามกอล์ฟ Golf Software) การจองกิจกรรมในโรงแรม (Activities booking software) เป็นต้น
  • ข้อมูลการชำระเงิน – มีระบบบัญชี ที่เชื่อมต่อกับระบบอื่นๆอย่างเรียลไทม์ (Real-time accounting software)

CDP นอกจากจะช่วยให้โรงแรมสามารถทำการตลาดได้ดี ยังสามารถช่วยให้โรงแรมปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ซึ่งนำไปสู่การประหยัดต้นทุนและเพิ่มรายได้ ตัวอย่างเช่น CDP สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของแขกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระดับการรับพนักงานและลดต้นทุนค่าแรง นอกจากนี้ยังสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับความต้องการและความต้องการของแขก ช่วยให้พนักงานสามารถตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และปรับปรุงความพึงพอใจของแขก

If you require a consultant system and an ERP system for hospitality businesses (golf software, hotel management software, resort management software, event management software, restaurant, F&B and Central Kitchen Management Software, spa software, wholesale retail management, franchise management, and other service businesses)

Feel free to contact CiMSO ERP Software  for a short demo (free, via online) at 02-1296312 or marketingth@cimso.com

5.2-Ci-Header-GOLFmanager-c

To contact CiMSO Sales Team by phone, please call +66-21296312 or email at marketingth@cimso.com

Thank you for visiting CiMSO booth at FHT 2023 – Food and Hospitality Thailand

Dear Visitor,

Thank you so much for taking the time to visit our booth at the Food & Hospitality Thailand 2023. We truly appreciate your interest in our products and services and hope you had a chance to learn more about what we have to offer.

If you have any further questions or would like to schedule a meeting to discuss potential opportunities for collaboration, please don’t hesitate to contact us. We would be more than happy to assist you.

Once again, thank you for taking the time to visit us and we look forward to see you in the next expo soon. 

If you require a consultant system and an ERP system for hospitality businesses (golf software, hotel management software, resort management software, event management software, restaurant, F&B and Central Kitchen Management Software, spa software, wholesale retail management, franchise management, and other service businesses)

Feel free to contact CiMSO ERP Software  for a short demo (free, via online) at 02-1296312 or marketingth@cimso.com

5.2-Ci-Header-GOLFmanager-c

To contact CiMSO Sales Team by phone, please call +66-21296312 or email at marketingth@cimso.com

ใช้ CDP ทำ การตลาดโรงแรม อย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ธุรกิจโรงแรม เป็นธุรกิจที่ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับประสบการณ์การเข้าพัก การรับบริการแบบพรีเมี่ยม ความรู้สึกที่ประทับใจของแขกที่เข้าพัก คำถามของนักการตลาดโรงแรม ก็คือ ทำอย่างไรโรงแรมจึงจะสามารถตอบสนองความต้องการและสร้างความประทับใจที่ตรงใจของผู้เข้าพักมากกว่าที่เคย เพื่อให้รายได้ของโรงแรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เพื่อการทำการตลาดให้ตรงกับความคาดหวัง ความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด แน่นอน โรงแรมก็เหมือนธุรกิจอื่นๆที่ต้องการข้อมูลทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลติดต่อ สัญชาติ เพศ สมรสหรือไม่ มีบุตรกี่คน ความชื่นชอบในการทานอาหาร ประวัติการเข้าพัก การเลือกซื้อสินค้า และความชอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ สินค้าที่ขาย การให้บริการของโรงแรม ทั้งนี้ก็เพื่อให้ ทีมการตลาด สามารถเอาข้อมูลไปวิเคราะห์ พิจารณา ออกโปรโมชั่น แนะนำบริการ ให้กับลูกค้าได้ตั้งแต่ก่อนการเข้าพัง และหลังการเข้าพัก เช่น เมื่อแขกที่เข้าพักจองห้องพักและคุณได้รับข้อมูลว่าเป็นครอบครัวที่มีลูกเล็ก คุณสามารถนำเสนอ free baby cod หรือแพคเกจ buy one get one fee สำหรับการเข้าโซนของเล่นเด็ก (kids club) ซึ่งลูกค้าน่าจะสนใจได้ทันที เมื่อลูกค้าประทับใจ แน่นอนลูกค้าจะกลับมาใหม่และจะบอกต่อ ไม่ว่าจะเป็นในหมู่เพื่อนฝูงด้วยกัน ในกลุ่มหรือเพจครอบครัว ซึ่งความประทับใจเล็กน้อยเหล่านี้สามารถเพิ่มรายได้ให้กับโรงแรมอย่างมาก

แล้วโรงแรมจะทำอย่างไร เพื่อให้ได้ข้อมูลลูกค้า (Customer Data)* ?

การรวบรวมข้อมูลของลูกค้าด้วยการให้ลูกค้ากรอกแบบฟอร์มลงในกระดาษดูไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ดีในยุคปัจจุบัน และเรื่องการเก็บข้อมูลนำมาวิเคราะห์ เพราะมีความ error สูง ทำให้ข้อมูลที่ได้มาไม่มีคุณภาพ   

ในปัจจุบัน มีแพลตฟอร์มหรือเครื่องมือ ที่เรียกว่า แพลตฟอร์มข้อมูลลูกค้า (CDP) หรือ customer Data Platform เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถช่วยให้โรงแรม สามารถรวบรวมและจัดการข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า (Customer Data) ซึ่ง CDP เปรียบเสมือนฐานข้อมูลกลางสำหรับข้อมูลลูกค้า ช่วยให้โรงแรมเข้าใจและให้บริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น   

เป้าหมายของการทำ CDP ก็คือ การช่วยให้โรงแรมเข้าใจแขกที่เข้าพักได้ดีขึ้นและมอบประสบการณ์ที่เป็นส่วนตัวให้กับแขก

*ข้อมูลลูกค้า (Customer Data) ในที่นี้ หมายถึงข้อมูลของลูกค้า ที่ได้มาอย่างถูกกฎหมาย ภายใต้กฎหมาย PDPA

CDP เพิ่มรายได้ให้กับโรงแรมได้อย่างไร?

  1. การทำ CDP มีผลต่อยอดขายและรายได้ของโรงแรมเป็นอย่างมาก ด้วยการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและความชอบของลูกค้าจากจุดต่างๆ หรือแผนกต่างๆ ภายในโรงแรมที่แขกเข้าใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นจุดบริการส่วนหน้า (Front Office) ร้านอาหาร (Restaurant) สระว่ายน้ำ (swimming pool) หรือจุดกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้เพื่อแจ้งกลยุทธ์ทางการตลาดและการขาย เช่น โปรโมชั่นที่ตรงเป้าหมายและโอกาสในการต่อยอดการขาย
  2. นอกจากนั้น CDP ยังสามารถเพิ่มประสบการณ์ให้กับลูกค่าในรูปแบบที่เป็นส่วนตัวอมากขึ้น (personalize the customer experience) ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ลูกค้าติดและชื่นชอบในแบรนด์ของโรงแรมและเกิดการใช้บริการซ้ำอยู่เรื่อย ๆ นำไปสู่การทำระบบความภัคดี (Loyalty Program) เช่น CDP สามารถใช้ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของแขกเพื่อแนะนำบริการส่วนบุคคลหรือการอัพเกรดในระหว่างขั้นตอนการจอง ซึ่งอาจนำไปสู่มูลค่าธุรกรรมเฉลี่ยที่สูงขึ้นและรายได้ที่เพิ่มขึ้น
  3. CDP ยังสามารถช่วยให้โรงแรมปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ซึ่งนำไปสู่การประหยัดต้นทุนและเพิ่มรายได้ เช่น
    • ข้อมลูเชิงลึกแบบ real-time ที่ได้จาก CDP ทำให้พนักงานสามารถตอบสนองความต้องการของแขกที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและปรับปรุงความพึงพอใจของแขก  
    • ข้อมูลเชิงพฤติกรรมของแขก ทำให้แผนกบุคคล (HR) ของโรงแรม สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการรับสมัครพนักงาน ลดต้นทุนค่าแรง และยังหาคนทำงานได้ตรงเป้าหมายกับขนบธรรมเนียมประเพณีขององค์กรมากขึ้น

โรงแรมเอาข้อมูล CDP ได้จากที่ไหน?  

โรงแรมสามารถรวบรวบ CDP ได้จากหลายจุดสัมผัสในเส้นทางการเข้ารับบริการของแขก ตั้งแต่การจองห้องพัก (hotel booking) การโต้ตอบบนเว็บไซต์ Social Media อีเมล์ การเข้าโรงแรมเพื่อเช็คอิน (hotel check-in) และระบบจุดขาย (POS) ร้านอาหาร กิจกรรมต่างๆ ระหว่างเข้าพัก รวมถึงข้อเสนอแนะ (feedback) หลังเข้าพัก จากนั้นข้อมูลที่รวบรวมจะถูกจัดระเบียบและจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลส่วนกลาง ช่วยให้ CDP สามารถสร้างมุมมองที่ครอบคลุมของลูกค้าแต่ละรายและการโต้ตอบกับโรงแรมได้ ข้อมูลเหล่านี้นอกจากใช้ในการปรับปรุงประสบการณ์ของแขกที่เข้าพักแล้ว ยังช่วยให้คุณเอาไปวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจและการตัดสินใจทางธุรกิจด้วย

สิ่งสำคัญของการทำ CDP ก็คือ การรวบรวมข้อมูลที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากสำหรับโรงแรมหลายๆ โรงแรม ที่มีการให้บริการแขก ที่ใช้หลายซอฟต์แวร์ เช่น เวลาแขกจองห้องพักก็ใช้ channel manager นึง พอแขก check-in ก็ใช้ระบบ PMS อีกตัวนึง เมื่อแขกข้าพักแล้วมาใช้บริการตามจุดต่างๆของโรงแรม ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร ฟิตเนส สปา ก็ใช้ระบบคนละตัวกันหมด   การที่โรงแรมเลือกใช้หลายซอฟต์แวร์ทำให้ข้อมูลแขกถูกรวบรวมแยกส่วนกัน   ทำให้ข้อมูลที่ได้มา ไม่สามารถหรือเป็นไปได้ยากมากที่จะ mapping กันถูกต้อง เช่น นาย ก จองห้องพักสำหรับครอบครัว เมื่อเช็คอินแล้ว หน้า front office จะมีข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าพัก เมื่อนาย ก และครอบครัวไปทานร้านอาหารในโรงแรม ร้านอาหารส่วนมากที่ใช้ระบบ POS แยกจาก PMS จะไม่สามารถรู้ว่าแขกห้องไหนมาทานอาหาร และไม่สามารถเก็บข้อมูลว่าแขกท่านนั้นสั่งซื้อหรือเลือกอะไรเป็นพิเศษ ดังนั้นการที่จะทราบว่า นาย ก ชอบทานอะไรเป็นพิเศษ เพื่อที่จะนำเสนอโปรโมชั่นให้ลูกค้ากลับมาเข้าพักโรงแรมและทานอาหารที่โรงแรมอีกครั้ง จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลย

ดังนั้น การเลือกใช้ ระบบจัดการโรงแรม ในรูปแบบ integrated software จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับการสร้างฐานข้อมูลของลูกค้า หรือ CDP เพื่อที่จะได้ข้อมูลที่มีคุณภาพพร้อมนำมาวิเคราะห์ เพิ่มประสบการณ์การเข้าพักที่ประทับใจ ลดรายจ่ายในการทำงานซ้ำซ้อนของพนักงาน และค่า MA ที่จะต้องเสียให้กับหลายซอฟต์แวร์ ลดความปวดหัวในการบริหารจัดการระบบหลายๆระบบ แถมเพิ่มรายได้ให้กับโรงแรมด้วยการ เอาข้อมูล CDP แบบ real-time ไปตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและยอดขายสูงขึ้นอย่างยั่งยืน   

CiMSO INNkeeper คือ ซอฟต์แวร์โรงแรม ที่ ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการโรงแรมสามารถบริหารจัดการจองห้องพัก (booking) การเข้าพัก (Check-in) การชำระเงินและออกจากที่พัก (Check-Out) รวมถึงการบริหารจัดการภายในของโรงแรม ไม่ว่าจะเป็นส่วนของแม่บ้าน ช่างซ่อมบำรุง เช่น การปิดห้องซ่อม การปรับสถานะห้องพัก ห้องว่าง ห้องสกปรก เป็นต้น <ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ หัวข้อ รู้จัก ระบบการจัดการโรงแรม INNkeeper – Hotel software>

INNkeeper นอกจากจะมีฟังก์ชั่น ครอบคลุมการจองห้องพัก การจัดการส่วนหน้า (Hotel PMS) และงานส่วนแม่บ้าน (HOUSEkeepet) ของโรงแรมแล้ว INNkeeper ยังมีระบบที่เชื่อมต่อกันซึ่งช่วยให้คุณบริหารจัดการธุรกิจต่อเนื่องจากการให้บริการห้องพักได้อย่างง่ายดายในระบบเดียว รวมถึงเก็บข้อมูล CDP ได้มีคุณภาพอย่างที่คุณต้องการ ไม่ว่าจะเป็น…

  • RESTaurateur ระบบร้านอาหาร
  • GOLFmanager ระบบสนามกอล์ฟ
  • CLUBmanager ระบบสมาชิก คลับ
  • SHOPkeeper ระบบร้านค้า คาเฟ่
  • REALter ระบบเช่าพื้นที่ เช่ารายเดือน service apartment
  • STOCKmanager ระบบจัดซื้อ คลังสินค้า
  • BACKoffice ระบบบัญชี การเงิน

และระบบอื่นๆ

If you require a consultant system and an ERP system for hospitality businesses (golf software, hotel management software, resort management software, event management software, restaurant, F&B and Central Kitchen Management Software, spa software, wholesale retail management, franchise management, and other service businesses)

Feel free to contact CiMSO ERP Software  for a short demo (free, via online) at 02-1296312 or marketingth@cimso.com

5.2-Ci-Header-GOLFmanager-c

To contact CiMSO Sales Team by phone, please call +66-21296312 or email at marketingth@cimso.com