ส่วนประกอบของเครื่องชั่งสปริง

เครื่องชั่งสปริง มีส่วนประกอบหลัก ๆ 4 ส่วนดังนี้

  • จานรอง
  • หน้าปัด
  • เข็มชี้น้ำหนัก
  • ตัวเลขบนหน้าปัด

อย่างไรก็ตาม สปริงและแกนรองฐาน ก็เป็นส่วนประกอบย่อยอีก 2 ส่วนที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นจุดที่ต้องรองรับน้ำหนังของสิ่งของ ดังนั้นต้องดูแลให้ดีทั้งเวลาเก็บและการใช้งานนะคะ เช่น การชั้งน้ำหนักให้แต่พอดี ไม่ควรชั่งเกินน้ำหนัก และเมื่อใช้งานเสร็จแล้วจะต้องไม่วางสิ่งของทิ้งไว้ เพราะจะทำให้สปริงเสื่อมการใช้งานค่ะ

 

การชั่งสิ่งของ

ก่อนชั่งสิ่งของบนเครื่องชั่งต้องชี้ไปที่ตัวเลข 0 เสมอ เมื่อวางสิ่งของที่จะชั่งแล้ว เข็มจะเคลื่อนที่ไปยังตัวเลขที่เท่ากับน้ำหนักของสิ่งของนั้น ตัวอย่างเช่น การชั้งเครื่องชั่งที่มีพิกัด 1 กิโลกรัม ถ้าเข็มชี้ไปที่เลข 3 แสดงว่าของสิ่งนั้นมีน้ำหนัก 300 กรัม หรือ 3 ขีด

To contact Scale BKK by phone, please call +669-7203-8279 or email at scalebkk@gmail.com

การดูแลรักษาเครื่องชั่ง

มายืดอายุการใช้งานของเครื่องชั่งด้วยการดูแลรักษาเครื่องชั่งให้ถูกวิธีกันดีกว่าค่ะ

  1. เวลาใช้งานหรือจัดเก็บจะต้อง ระวังอย่าให้เครื่องชั่งตกหล่น กระแทกพื้น
  2. เลือกใช้ขนาดของเครื่องชั่งให้เหมาะสมกับน้ำหนักของสิ่งของที่จะชั่ง
  3. หลังจากใช้แล้ว ให้ใช้ผ้าสะอาดนุ่มๆ เช็ดถูเครื่องชั่งให้สะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณจานรองรับสิ่งของที่นำมาชั่ง และฝาครอบหน้าัปัดที่เป็นพลาสติก แล้วนำเก็บเข้าที่ให้เป็นระเบียบ
เท่านี้เครื่องชั่งของเราก็จะมีอายุยืนยาวและคุณภาพดีเหมือนใหม่เลยล่ะค่ะ

To contact Scale BKK by phone, please call +669-7203-8279 or email at scalebkk@gmail.com

วิธีการใช้เครื่องชั่ง

สวัสดีค่ะ การใช้เครื่องชั่งให้ถูกวิธีจะทำให้คุณอ่านค่าของน้ำหนักสิ่งของที่ชั่งได้แม่นยำ และช่วยรักษาคุณภาพของเครื่องชั่งให้ใช้งานได้ยาวนาน ขึ้นด้วย Scale BKK แนะนำวิธีการใช้เครื่องชั่งที่ถูกวิธี ดังนี้ค่ะ

  1. วางเครื่องชั่งบนพื้นราบ
  2. วางจานรองรับสิ่งของที่จะนำมาชั่งบนเครื่องชั่ง
  3. มองดูเข็มชี้ตัวเลขที่หน้าปัดตาชั่งให้ปลายแหลมของเข็มชี้ตรงกลางเลขศูนย์ ถ้าเข็มชี้ตัวเลขไม่ตรงกับเลขศูนย์ **ให้ปรับเข็ม ให้ตรงเลขศูนย์ก่อนที่จะนำสิ่งของมาชั่ง**
  4. นำสิ่งของที่ต้องการชั่งวางบนจานรองรับ ใชสายตาอ่านค่าน้ำหนัก และเมื่อสิ่งของที่ชั่งยังมีน้ำหนักไม่ตรงตามต้องการ เช่น สิ่งที่นำมาชั่งมีค่าน้ำหนักน้อย ให้เพิ่มสิ่งของนั้นบนเครื่องชั่งจนกว่าจะได้น้ำหนักตามต้องการ และถ้าสิ่งของที่นำมาชั่งมีค่าน้ำหนักเกินต้องการ ให้หยิบสิ่งของนั้นออกจากเครื่องชั่งจนกว่าจะได้น้ำหนักตามต้องการ

To contact Scale BKK by phone, please call +669-7203-8279 or email at scalebkk@gmail.com

ประวัติชั่ง ตวง วัด ไทย

ก่อน พ.ศ.๒๔๔๐

ประเทศไทยรู้จักใช้วิธีชั่งตวงวัดกันแพร่หลาย มาแต่โบราณกาล วิธีที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่วิธีของไทย, ของจีน และวิธีของฝรั่ง ซึ่งมีพิกัดอัตราไม่เท่ากัน ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคต่อความเจริญในการค้าขาย

พ.ศ. ๒๔๔๐

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) มีพระราชปรารภ ที่จะวางระเบียบการชั่งตวงวัดให้เป็นหลักฐาน จึงตกเป็นหน้าที่ของกระทรวงเกษตรพาณิชย์การในการวางระเบียบในเรื่องนี้ ซึ่งเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้คิดที่จะใช้วิธีมาตราเมตริก เมื่อ รศ.๑๑๖ (พ.ศ.๒๔๔๐) แต่ยังไม่เป็นผลสำเร็จ

พ.ศ.๒๔๔๔

เจ้าพระยาเทเวศร์วงษ์วิวัฒน์เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้รวบรวมเอาเฉพาะการตวงขึ้นมาพิจารณา เพราะเหตุว่าประเทศสยามมีสินค้าข้าวที่จะต้องตวงซื้อตวงขายเป็นสินค้าสำคัญจึงได้ร่าง พระราชบัญญัติอัตราตวงขึ้นมา ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการชั่งและการวัด

พ.ศ. ๒๔๔๕ 

รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มมาตราการชั่งและวัดเข้าด้วย เจ้าพระยาอภัยราชา (Mr.Rolin Jacquemyns) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน กับนายชเลสเซอร์ที่ปรึกษากฎหมาย ได้ร่าง “พระราชบัญญัติวัดตวงและชั่ง” ร.ศ.๑๑๙ ขึ้นใหม่ โดยบัญญัติให้ใช้เป็นวิธีเมตริก

พ.ศ.๒๔๔๘ 

รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาว่าควรใช้เครื่องชั่งตวงวัดวิธิใดจึงจะเหมาะ และคณะกรรมการได้ ถวายรายงานกราบบังคมทูลว่า ควรใช้วิธีเมตริกเป็นแบบเดียวกัน

พ.ศ.๒๔๕๒ 

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่กัว (รัชกาลที่ ๖) เจ้าพระยาวงศานุประพันธ์ เสนาบดีกระทรวงเกษตรธิการได้ทำหนังสือ กราบบังคมทูลว่าเห็นควรที่ประเทศสยามจะเข้าร่วมในอนุสัญญาระบบเมตริก (Metric Convention) และกระทรวงเกษตรธิการจึงเรื่องทำการติดต่อกับสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศในเรื่องการขอเข้าเป็นสมาชิก

พ.ศ.๒๔๕๔ 

รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดี กระทรวงมหาดไทยเสนาบดี กระทรวงพระคลัง และเสนาบดีกระทรวงนครบาล ประชุมปรึกษากัน ทำความเห็นในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ที่ประชุมทูลเกล้าฯ ซึ่งถวายรายงานความเห็น ว่าควรรับแบบวิธีเมตริกมาใช้

พ.ศ.๒๔๕๕ 

ประเทศไทยได้แจ้งความจำนงที่จะขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกไปยังสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ ที่ประเทศฝรั่งเศส และได้เข้าเป็นสมาชิกในปีนั้น

พ.ศ.๒๔๖๖ 

รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖” ซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัดของประเทศ และในปีถัดมา ได้มีการออกกฎเสนาบดีฉบับแรกขึ้น เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

พ.ศ.๒๕๓๘ 

ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายชั่งตวงวัด

พ.ศ.๒๕๔๒ 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ.๒๕๔๒” ขึ้น และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ ๑๑๖ ตอนที่ ๒๙ ก วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๒ ซึ่งมีผลให้ใชับังคับเป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๒

ขอบคุณข้อมุลจาก สมาคม ชั่ง ตวง วัด http://www.thaiweight.com/thaiweight-9.php

To contact Scale BKK by phone, please call +669-7203-8279 or email at scalebkk@gmail.com